ผลการศึกษาจากอังกฤษ ระบุว่าการป้องกันโควิดของวัคซีนไฟเซอร์ และแอสตร้าเซนเนกา ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพในการต้านโควิดเดลตาลดลง หลังฉีดไปแล้ว 3 เดือน
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิดเดลตาหลังได้รับวัคซีนโดสที่ 2 ของสองยี่ห้อนี้ มีความเสี่ยงสูงในการแพร่เชื้อให้บุคคลรอบข้างได้มากกว่าผู้ติดโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ
ขณะที่ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดพบว่า 90 วันหลังการฉีดวัคซีนของไฟเซอร์ หรือแอสตร้าฯ โดสที่ 2 ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดลงเหลือ 75% และ 61% ตามลำดับ ซึ่งอ้างอิงจากการตรวจหาเชื้อทางจมูกและลำคอมากกว่า 3 ล้านตัวอย่างทั่วประเทศ
ขณะที่ผลศึกษาหลังการฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่าประสิทธิภาพลดลงเหลือ 85% และ 68% ซึ่งกลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจะพบว่าประสิทธิภาพลดลงมากกว่ากลุ่มท มีอายุน้อย
อย่างไรก็ดี วัคซีนทั้งสองยี่ห้อนี้ เมื่อฉีดครบสองโดส ยังคงมีประสิทธิภาพต่อต้านวิดเดลตาได้ดีมากพอ แม้ประสิทธิภาพจะลดลง
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยไม่ได้ประเมินต่อว่าระดับการป้องกันจะลดลงมากน้อยแค่ไหนเมื่อระยะเวลาผ่านไป แต่คาดว่าประสิทธิภาพของวัคซีนทั้ง 2 ชนิด จะลดลงมาอยู่ในระดับที่พอ ๆ กันหลังฉีดเข็ม 2 ไปราว 4-5 เดือน