สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 กลับมาสูงขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ณ 07:00 น สรุปตัวเลขของค่าเฉลี่ย PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่า
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ โดยพบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ และ จ. กาญจนบุรี
- ภาคเหนือ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ตรวจวัดได้ 9.1 – 32.9 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี
ตรวจวัดได้ 16.4 – 31.3 มคก./ลบ.ม. - ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่
ตรวจวัดได้ 12.3 – 39.6 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี
ตรวจวัดได้ 11.8 – 24.4 มคก./ลบ.ม. - ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ตรวจวัดได้ 3.8 – 13.5 มคก./ลบ.ม. - กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐาน 36 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 19.5 – 53.8 มคก./ลบ.ม.
ในขณะที่รายงานของศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รายงานตัวเลขค่าฝุ่น ณ เวลา 08.00 น. พบว่า ค่าฝุ่น PM 2.5 บริเวณประเทศไทยในหลายพื้นที่มีระดับที่สูง และอยู่ในระดับสีส้ม หรือเริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพในหลายพื้นที่
โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของพื้นที่ภาคเหนือ
ในขณะที่รายงานการตรวจวัดโดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียงกรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 08.00 น. พบว่า พื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 37 จุด มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 อยู่ในระดับที่เริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบไปด้วย
เขตดินแดง (สถานี คพ.), เขตราษฎร์บูรณะ, เขตดุสิต, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตพญาไท, เขตวังทองหลาง, เขตวังทองหลาง (สถานี คพ.), เขตปทุมวัน, เขตปทุมวัน (สถานี คพ.), เขตบางรัก, เขตสาทร, เขตยานนาวา, เขตบางนา, เขตดอนเมือง, เขตลาดกระบัง, เขตประเวศ, เขตธนบุรี, เขตธนบุรี (สถานี คพ.), เขตบางกอกใหญ่, เขตบางกอกน้อย, เขตตลิ่งชัน, เขตทวีวัฒนา, เขตภาษีเจริญ, เขตหนองแขม, เขตบางบอน, เขตทุ่งครุ, เขตคลองเตย, เขตบึงกุ่ม, เขตคลองสามวา, เขตจอมทอง, เขตบางพลัด, เขตบางขุนเทียน, เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.), สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย, สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา, สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด