คัดลอก URL แล้ว
GDP ไทย ขยายตัว 2.3% คาดทั้งปี ขยายตัวได้ 2.3 – 2.8%

GDP ไทย ขยายตัว 2.3% คาดทั้งปี ขยายตัวได้ 2.3 – 2.8%

วันนี้ (19 ส.ค. 2567) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 GDP ขยายตัว 2.3% ดีขึ้นจากช่วงไตรมาสแรกที่ขยายตัว 1.5%

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสแรกของปี 2567 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2567 ร้อยละ 0.8 (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวร้อยละ 1.9

ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการอุปโภคภาครัฐบาล การส่งออกสินค้าและบริการ และการขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐปรับตัวลดลง

ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งและการขายปลีก สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่สาขาการก่อสร้าง และสาขาเกษตรกรรม ปรับตัวลดลง

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2567

ด้านการใช้จ่าย

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน:

ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอลงจากร้อยละ 13.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร กลุ่มบริการทางการเงิน การบริการด้านการศึกษา และกลุ่มสถานบันเทิงอื่น ๆ

การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 3.6 ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และการใช้จ่ายกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ส่วนการใช้จ่าย
หมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 6.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยให้ความสำคัญกับรถยนต์พลังงานทางเลือกมากขึ้น ประกอบกับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใหม่

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 4.3 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ และการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 54.3 ลดลงจากระดับ 57.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

รวมครึ่งแรกของปี 2567 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อเนื่องจากร้อยละ 7.6 ในช่วง
ครึ่งหลังของปี 2566

การลงทุนภาคเอกชน:

ลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส ร้อยละ 6.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือร้อยละ 8.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนในหมวดยานพาหนะร้อยละ 22.5 ต่อเนื่อง จากการลดลงร้อยละ 19.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และสอดคล้องกับปริมาณการน าเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 24.6 ในไตรมาสก่อนหน้า

และการลงทุนในหมวดการก่อสร้างลดลงครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส ร้อยละ 2.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจาก

การลดลงของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยร้อยละ 7.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้อง
กับการชะลอตัวของสินเชื่อครัวเรือน และมาตรฐานสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ประกอบกับราคาที่อยู่อาศัยใหม่
ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ส่วนการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ลดลงร้อยละ 10.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การก่อสร้างโรงงานขยายตัวร้อยละ 20.8 ชะลอลงจากร้อยละ 35.1 ในไตรมาสก่อนหน้า การปรับตัวลดลงของการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ระดับ 48.0 จากระดับ 48.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ ากว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567

คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.3 – 2.8 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 2.5) โดยคาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.0 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.4 – 0.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP

ปัจจัยสนับสนุน

ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง