สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยกลับมามีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2566 ณ 07:00 น พบว่า
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศไทยเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง พบเกินค่ามาตรฐานใน จ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.อ่างทอง จ.สุพรรณบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.หนองคาย จ.อุดรธานี จ.ขอนแก่น จ.กาฬสินธุ์ และ จ. ยโสธร
- ภาคเหนือ
เกินค่ามาตรฐาน 6 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 9.0 – 67.2 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 28.8 – 67.5 มคก./ลบ.ม. - ภาคกลางและตะวันตก
เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 30.2 – 67.0 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออก
เกินค่ามาตรฐาน 5 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 16.4 – 41.6 มคก./ลบ.ม. - ภาคใต้
ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 9.4 – 21.5 มคก./ลบ.ม. - กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 31.5 – 75.7 มคก./ลบ.ม.
ซึ่งสอดคล้างกับรายงานการตรวจวัด ณ เวลา 07.00 น. โดยศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่พบว่า พื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงภาคเหนือตอนล่าง มีค่าฝุ่น PM 2.5 ที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะภาคกลาง บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล
กทม. ฝุ่นสีส้มเกือบทุกเข
สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล แนวโน้มค่าฝุ่น PM 2.5 ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ ซึ่งเกือบทุกเขตของกรุงเทพฯ มีค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม
ในขณะที่จุดตรวจวัดบริเวณต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ค่าเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง พบปริมาณฝุ่น PM 2.5 75.7 ไมโครกรัม/ลบ.ม. สูงแตะระดับสีแดง
สำหรับประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือสวมหน้ากาก N95 เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 ในขณะที่ กลุ่มผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ควรป้องกันตัวเองเป็นพิเศษ
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 07.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | ทต.ถอนสมอ ต.ถอนสมอ อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรีต.ห้วยคต | 164 |
2 | อบต.อินทร์บุรี ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี | 162 |
3 | สสอ.ไทรงาม ต.ไทรงาม อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร | 151 |
4 | อบต.ห้วยชัน ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี | 144 |
5 | รพ.สต.เนินปอ ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร | 122 |
6 | สำนักงานเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี | 119 |
7 | กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ม.มหิดล ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม | 117 |
8 | รพ.สต.หน้าพระลาน จ.สระบุรี | 113 |
9 | รพ.แสวงหา ต.แสวงหา อ.แสวงหา จ.อ่างทอง | 112 |
10 | อบต.พักทัน ต.พักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี | 110 |
โดยจะเห็นว่า พื้นที่บริเวณภาคกลาง บริเวณจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พิจิตร หลายจุดมีค่าฝุ่น PM 2.5 เกิน 100 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
ไทยพบจุดความร้อน 172 จุด
ในขณะที่รายงานจุดความร้อนที่พบในภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนจุดความร้อนสูงที่สุด คือ 190 จุด โดยพบในพื้นที่เกษตรจำนวน 138 จุด, เขตพื้นที่สปก. 22 จุด, พื้นที่ป่าสงวน 14 จุด, ในพื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 13 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 2 จุด และพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวน 1 จุด
ซึ่งพบมากบริเวณพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง สอดคล้องกับรายงานการตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ที่พบสูงมากในหลายจุด โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง