พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. มีหนังสือบันทึกข้อความที่ 0011.32/4129 ลงวันที่ 24 ต.ค. 66 แจ้งเวียนคำสั่ง ตร.เรื่อง แนวทางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่า ด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 ถึง รองผบ.ตร., จเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) ผู้ช่วย ผบ.ตร., รองจตช. เพื่อทราบ ผู้บัญชาการ (ผบช.) หรือตำแหน่งเทียบเท่า ผู้บังคับการ (ผบก.) หรือตำแหน่งเทียบเท่า ในสังกัด สง.ผบ.ตร.
ใจความว่า ด้วย พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 66 เป็นต้นไป และกำหนดให้กฎหมายในบัญชี 1 และบัญชี 3 ท้าย พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 ต.ค. 66
ปรับเป็นพินัย คือ เสียเงินค่าปรับแทนจำคุกคดีไม่ร้ายแรง ปรับตามฐานะผู้กระทำผิด
(เริ่มใช้ 25 ต.ค.66)
●ที่มา
ผู้กระทำความผิดอาญาไม่ร้ายแรงหรือผู้ถูกลงโทษปรับ แต่ฐานะยากจนไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ถูกกั
กขังแทนค่าปรับ กลายเป็นผู้มีประวัติอาชญากรติดตัว และทำให้เกิดปัญหานักโทษล้นคุก จึงเกิดแนวความคิดว่า ปรับปรุงกฎหมาย
●หลักเกณฑ์ “โทษปรับเป็นพินัย”
ปรับเงินแทนโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดไม่ร้ายแรง ไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรงหรือไม่กระทบต่อส่วนรวมอย่างกว้างขวาง
●การชำระค่าปรับเป็นพินัย
-เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาล เป็นผู้กำหนด
ให้เหมาะสมกับการกระทำและฐานะผู้กระทำผิด
-สามารถขอผ่อนชำระค่าปรับเป็นรายงวดได้
ถ้าไม่มีเงินชำระค่าปรับ สามารถร้องขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับได้
เริ่มวันนี้ ‘ปรับตามพินัย’ ไม่จำคุก-กักขัง แทนค่าปรับ
พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. มีหนังสือบันทึกข้อความที่ 0011.32/4129 ลงวันที่ 24 ต.ค. 66 แจ้งเวียนคำสั่ง ตร.เรื่อง แนวทางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่า ด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 ถึง รองผบ.ตร., จเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) ผู้ช่วย ผบ.ตร., รองจตช. เพื่อทราบ ผู้บัญชาการ (ผบช.) หรือตำแหน่งเทียบเท่า ผู้บังคับการ (ผบก.) หรือตำแหน่งเทียบเท่า ในสังกัด สง.ผบ.ตร.
ใจความว่า ด้วย พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ.2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 66 เป็นต้นไป และกำหนดให้กฎหมายในบัญชี 1 และบัญชี 3 ท้าย พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 ต.ค. 66
●กฎหมายใดที่ใช้ โทษปรับเป็นพินัย
โทษปรับทางอาญาและโทษปรับทางปกครองตามกฎหมายที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติเป็นโทษปรับเป็นพินัยนั้น 3 บัญชี ทั้งหมด 204 พ.ร.บ.
เช่น
พ.ร.บ.ขนส่งทางบก
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน
พ.ร.บ.ยาเสพติด เป็นต้น