คัดลอก URL แล้ว
ไอบอกโรค ลักษณะอาการไอ แบบไหนอันตราย? ไอมีเสมหะ ไอแห้ง ไอตอนกลางคืน

ไอบอกโรค ลักษณะอาการไอ แบบไหนอันตราย? ไอมีเสมหะ ไอแห้ง ไอตอนกลางคืน

“ไอ” เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ โดยเป็นกลไกในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ ขอนำเกร็ดความรู้จาก พญ.พวงรัตน์ ตั้งธิติกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนวเวช อธิบายลักษณะของการไอไว้อย่างละเอียด สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการไอจนผิดปกติจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างทันท่วงที

ลักษณะการไอ บอกอะไรเรา

ลักษณะของเสียงไอ สามารถแบ่งจำแนกตามรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น

อาการไอสามารถแบ่งตามระยะเวลาได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. ไอเฉียบพลัน คือ อาการไอที่น้อยกว่า 3 สัปดาห์
  2. ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอตั้งแต่ 3 – 8 สัปดาห์
  3. ไอเรื้อรัง คือ อาการไอต่อเนื่องที่มากกว่า 8 สัปดาห์ขึ้นไป

อาการไอที่ควรพบแพทย์

แนะนำให้มาพบแพทย์ กรณีที่อาการไอเป็นลักษณะไอเรื้อรัง หรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วม เช่น ไอเสมหะปนเลือด เสียงแหบ มีไข้ น้ำหนักลด หอบเหนื่อย ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ กลืนเจ็บ กลืนลำบาก สำลัก ทั้งนี้ เพื่อการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสม

แนวทางการรักษา

เนื่องจากอาการไอเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น การรักษาจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการไอ และให้การรักษาตามสาเหตุนั้น ๆ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเอง ก็เป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาการไอได้มาก โดยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการไอ เช่น สารก่อการระคายเคือง ฝุ่น สารเคมี ควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมโดยตรง เนื่องจากอากาศเย็นจะกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัว ควรทำให้ร่างกายอบอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ กรณีที่สูบบุหรี่ ควรงดการสูบบุหรี่

แนะนำควรพบแพทย์

อาการไอเกิดได้จากหลายสาเหตุ ถ้าคนไข้รู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกาย หรือรู้สึกกังวลใจเรื่องอาการไอ แนะนำควรเข้ามาพบแพทย์ เพื่อทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด นำไปสู่การวินิจฉัย และการรักษาอย่างเหมาะสม

ขอบคุณข้อมูลจาก: พญ.พวงรัตน์ ตั้งธิติกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนวเวช


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง