การรับประทานอาหารแบบ วีแกน (Vegan) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คนสายรักสุขภาพนิยม แต่ถ้าหากรับประทานไม่ถูกวิธีอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพรุนแรงได้
จากกรณีที่ ชันนา ซัมโซโนวา (Zhanna Samsonova) หรือชันนา ดีอาร์ต (Zhanna D’art) อินฟลูเอนเซอร์สาวสายวีแกน ชาวรัสเซียวัย 39 ปี ที่ชอบโชว์ไลฟ์สไตล์การกิรผ่านโซเชียมีเดีย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะขาดสารอาหารขั้นรุงแรง ซึ่งเธอมีพฤติกรรมการเลือกกินที่กินเฉพาะผลไม้สดบางชนิดเท่านั้น อาทิ ต้นอ่อนเมล็ดทานตะวัน และน้ำผลไม้ เพื่อนของเธอเผยข้อมูลว่า ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เธอจะกินแค่ทุเรียนและขนุน โดยก่อนที่จะเสียชีวิตเธออยู่ในมาเลเซีย
เพื่อนของชันนา ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า “เมื่อ 2-3 เดือนก่อน ที่ศรีลังกา ชันนาดูอ่อนล้า ขาบวม และมีน้ำเหลืองไหลออกมา ครอบครัวส่งเธอกลับบ้านเพื่อรับการรักษา แต่เธอก็หนีออกมาอีก”
ด้านแม่ของชันนา เผยว่า ลูกสาวเสียชีวิตด้วยอาการที่คล้ายกับโรคอหิวาตกโรค (Cholera) คือ มีอาการท้องร่วง อาเจียน ร่างกายขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเชื่อว่าเกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อย่างไรก็ตาม สาเหตุการเสียชีวิตยังไม่ได้มีการเปิดเผยออกมารอรายงานทางการแพทย์ที่แน่ชัด
สำหรับคนที่สนใจการรับประทานอาการแบบ วีแกน คุณต้องทำอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ไปทำความเข้าใจกันไว้ก่อนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพจริง ๆ โดยไม่เป็นอันตราย
วีแกน คืออะไร
วีแกน คือการรับประทานอาหารที่เคร่งครัดกว่ามังสวิรัติ นอกจากไม่รับประทานเนื้อสัตว์แล้วสายวีแกนยังไม่รับประทานทุกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ คือจะไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการงดบริโภคนม เนย ชีส ไข่ ไม่เว้นแม้แต่ น้ำผึ้ง ยีสต์ และเจลาติน ซึ่งบางคนอาจเคร่งครัดชนิดที่ว่าไม่สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า และใช้เครื่องสําอางที่ทํามาจากสัตว์ หรือทดลองจากสัตว์เลยก็มี
ข้อควรระวัง วีแกน
- หากใครจะเริ่มรับประทานแบบ Vegan ไม่ควรหักโหมในทันที ให้ลองเริ่มจากการงดเนื้อสัตว์แล้วค่อย ๆ เริ่มถือเว้นนม เนย และไข่เป็นบางวัน จากนั้นจึงเพิ่มวันไปเรื่อย ๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นเนื้อปลอม ซึ่งได้จากโปรตีนเกษตร แต่รับประทานเป็นเต้าหู้โดยตรงจะดีกว่า และเมื่อปรุงอาหารรับประทานเองลองปรับเปลี่ยนส่วนผสมและวัตถุดิบให้เป็นแบบ Vegan เพื่อให้สามารถทํารับประทานเองได้ในทุกมื้อ
- หากเคร่งครัดการทานวีแกนจะร่างกายอาจจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่ต้องการ เพราะมื้ออาหารแบบวีแกนจะไม่รับประทานทุกผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ชาววีแกนจึงต้องวางแผนเรื่องโภชนาการให้ดี โดยต้องให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม
สารอาหารจากเนื้อสัตว์ชดเชยได้จากแหล่งพืชผักผลไม้
สำหรับชาววีแกน สารอาหารที่จําเป็นต้องได้รับจากเนื้อสัตว์ นม เนย ชีส หรือไข่นั้น สามารถหาชดเชยได้จากแหล่งพืชผักผลไม้ ดังนี้
- โปรตีน ส่วนใหญ่ในกลุ่มผักที่เป็นเมล็ด ซึ่งเป็นโปรตีนประเภทกรดอะมิโนที่จําเป็นได้แก่ ถั่วลูปิน ถั่วเหลือง เมล็ดเจีย ผักโขม เมล็ดฟักทอง เมล็ดโซบะ สาหร่ายเกลียวทอง ถั่วพิสตาชิโอ และคีนัว เป็นต้น
- ธาตุเหล็ก ได้แก่ ถั่วสีดำ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ บรอกโคลี ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี ผักกาดหอม เมล็ดทานตะวัน น้ำมะเขือเทศ กากน้ำตาล โหระพา และขนมปังข้าวสาลี เป็นต้น
- กรดไขมัน ที่จัดว่าเป็นพืชที่มีโอเมก้า 3 ได้แก่ ถั่วเหลือง วอลนัท ถั่วแระ เมล็ดแฟลกซ์ หรือน้ำมัน-เมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันคาโนลา และผักโขม เป็นต้น
- อาหารจากพืชที่มีแคลเซียมส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย พืชเมล็ด ผักใบเขียว และเต้าหู้ ได้แก่ งาดำ ถั่วเหลือง ถั่วแดงหลวง เม็ดบัว กระเจี๊ยบ มะเดื่อแห้ง อัลมอนด์ ถั่วแระ ผักโขม ผักคะน้ํา ผักชีฝรั่ง ผักชีลําว เป็นต้น
- ผักในบ้านเราที่มีแคลเซียมอยู่มาก ได้แก่ ใบชะพลู ใบยอ ยอดแค ยอดสะเดา ผักคะน้า ผักแพว
- วิตามิน D นอกจากจะได้รับจากแสงแดดแล้ว จากอาหาร เช่น ในเห็ดบางชนิด และนมถั่วเหลืองที่มีการเติมวิตามิน D ลงไปด้วย
ควรระวังของการทําอาหารประเภท Vegan
การปรุงอาหารที่ดีไม่ควรใช้ความร้อนเกิน 48 องศาเซลเซียส เนื่องจากอาหารที่ผ่านความร้อนมาก ๆ จะมีทําาให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง