คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM 2.5 ลดลง แต่ยังอยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ฝุ่น PM 2.5 ลดลง แต่ยังอยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

KEY :

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงใกล้เคียงกับเมื่อวานที่ผ่านมา โดยภาพรวมลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อเนื่องหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในภาคเหนือหลายพื้นที่มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลดลง แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อเนื่อง ซึ่งพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นพื้นที่ที่พบว่า มีค่าฝุ่นสูงมากที่สุด โดยเฉพาะที่ อ.พร้าว และ อ.เชียงดาว

ซึ่งเมื่อเวลา 08.00 น.ที่ผ่านมา ตามรายงานการวัดค่าฝุ่นโดยศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า จาก 50 อันดับแรกของพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นสูงที่สุดในไทย มี 46 จุดอยู่ในพื้นที่จังหวัเชียงใหม่ โดยเฉพาะของ อ.พร้าว มีถึง 28 จุดด้วยกัน

สภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงมีการระบายอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ “อ่อน” มีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวได้มาก

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ส่วนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ ปริมาณฝุ่นบางพื้นที่มีทิศทางที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดพายุฤดูร้อนในระยะนี้ ส่งผลให้มีกระแสลมแรงขึ้น มีฝนบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดสกลนคร มุกดาหาร ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 ในบริเวณดังกล่าว มีแนวโน้มลดลงบางพื้นที่

แต่บริเวณตอนบนทางด้านของจังหวัดเลย ยังคงมีปริมาณฝุ่นที่ในเกณฑ์ที่สูง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

สำหรับภาคกลางนั้น การระบายอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน / ดี” และมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวได้ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค และด้านตะวันตกของภาค แต่ในช่วงตั้งแต่วันนี้ไป สภาพอากาศจะมีการยกตัวได้มากขึ้น มีฝนตกในบางพื้นที่ ซึ่งคาดว่า จะช่วยลดปริมาณฝุ่นได้บางส่วน

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ เริ่มดีขึ้น

สำหรับพื้นกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีสภาพอากาศเปิดมากขึ้น การยกตัวของอากาศทำได้ดีขึ้น กระสลมใต้มีกำลังแรงขึ้น จึงส่งผลให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้น้อยลง

เช่นเดียวกับในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งในวันนี้ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา รายงานการตรวจวัดสภาพอากาศพบว่า ไม่มีพื้นที่ใดที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน โดยสูงที่สุดอยู่ที่ เขตหนองจอก 50 ไมโครกรับ/ลูกบาศก์เมตร

อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 14 – 15 เม.ย. คาดว่า บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีสภาพอากาศปิดในบางพื้นที่ จึงควรเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อีกครั้ง

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1บ้านท่ามะเกี๋ยง
ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
854
2รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
821
3บ้านสันกลาง
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
708
4รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
693
5บ้านป่าแขม
ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
642
6วัดสันรกฟ้า
ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
634
7บ้านสันปอธง
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
617
8บ้านตีนธาตุ
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
593
9บ้านหนองไฮป่าหวาย
ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
582
10บ้านหนองบัว
ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
570

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนมีแนวโน้มลดลง

สำหรับรายงานจุดความร้อนจาก ASEAN Specialised Meteorological Centre พบว่า แนวโน้มจุดความร้อนในภูมิภาคลดลงจากเมื่อวันก่อน แต่ยังคงมีปริมาณที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในประเทศลาว และเมียนมาร์

ส่วนบริเวณประเทศไทยยังคงพบมากในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ แม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลงก็ตาม

ภาพ – รายงานจุดความร้อนจาก ASEAN Specialised Meteorological Centre