Hedgehog’s Dilemma แนวคิดของ อาเทอร์ โชเพนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ผลงานเมื่อปี ค.ศ. 1851 ซึ่งเขาได้อธิบายความสัมพันธ์แบบ Hedgehog’s Dilemma ไว้ว่าเปรียบเหมือน
บรรดาเหล่าตัวเม่น เมื่อถึงฤดูหนาวอันเยือกเย็น พวกมันต่างเดินเข้าหากันเพื่อหวังสร้างความอบอุ่น แต่ตัวที่มีหนามอันแหลมคม จึงทำให้เมื่อยิ่งใกล้กันมากเท่าไรก็ยิ่งทิ่มแทงกันเอง แต่พอครั้นถอยห่างออกจากกันเมื่อไรก็ทำให้รู้สึกหนาวเหน็บ วนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ
มนุษย์กับความเจ็บปวดของความใกล้ชิด
หากเปรียบเทียบตัวเม่นกับมนุษย์ ในด้านความสัมพันธ์ พูดให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ คนที่อาจจะพบเจอกับความสัมพันธ์แบบเจ็บปวดผิดหวัง และต้องการการเยียวยา จึงเริ่มความสัมพันธ์ใหม่อีกแต่ก็ต้องเจอกับความสัมพันธ์ที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแบบเดิมๆ อีก วนลูปไปเรื่อยๆ หลายๆ ครั้งจนไม่อยากจะรู้สึกเจ็บแบบนั้นอีก ส่งผลทำให้หลายคนไม่กล้าเปิดใจให้ใครและเลือกที่จะอยู่คนเดียวแม้จะต้องรู้สึกโดดเดี่ยวก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ในชีวิตของคนเราต้องเจอกับความสมหวัง ผิดหวัง นั้นถือเป็นเรื่องธรรมดา สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ระยะที่พอดี เรียนรู้ที่จะยอมรับความจริง และอย่ากลัวกับการเริ่มต้นใหม่ เพราะการกล้ามีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเป็นโอกาสที่จะทำให้คุณได้พบมิตรภาพที่ดี
ที่มา : psychologytoday, thecrimsonwhite, missiontothemoon