คัดลอก URL แล้ว
เงินเฟ้อญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 4.2% – สินค้าขึ้นราคาแล้วกว่า 5 พันรายการ

เงินเฟ้อญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 4.2% – สินค้าขึ้นราคาแล้วกว่า 5 พันรายการ

KEY :

อัตราเงินเฟ้อในประเทศญี่ปุ่นยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานล่าสุดระบุว่า อัตราเงินเฟ้อของเดือนมกราคมที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับมกราคมปี 2022 และเป็นระดับที่สูงที่สุดนั้นตั้งแต่เดือนกันยายน 1981

ซึ่งญี่ปุ่นระบุว่า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 4.2% (ไม่รวมอาหารสด) นี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าสหรัฐฯ อังกฤษ และในประเทศอื่น ๆ แต่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) คาดว่า สถานการณ์เงินเฟ้อนี้จะยังคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะลดระดับลง

ส่วนทางด้านของนักวิเคราะห์เคยคาดการณ์กันว่า อัตราเงินเฟ้อของเดือนมกราคม 2023 นี้อยู่ที่ราว 4.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2022 ที่อยู่ที่ระดับ 4.0%

(ภาพ – Il Vagabiondo)

ระบุ เป็นผลกระทบจากสงครามในยูเครน

ปัจจัยจากการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าและก๊าซ ส่งผลให้อาหารแปรรูปและสินค้าต่าง ๆ หลายชนิดปรับขึ้นราคาล่วงหน้าไปแล้ว ตั้งเมื่อช่วงเดือนมกราคม 2023 ที่ผ่านมา

ซึ่งต้นทุนด้านพลังงานยังคงเป็นปัจจัยหลักที่กดดันต่อเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นต่อไป โดยนักลงทุนยังคงเฝ้าจับตามองมาตรการของรัฐ ที่จะแก้ไขปัญหาต้นทุนเชื้อเพลิง และพลังงาน เพื่อลดอัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ส่งผลให้ธนาคารกลางของญี่ปุ่น จะต้องเผชิญแรงกดดันเพิ่มขึ้น เพื่อพิจารณานโยบายทางการเงินของประเทศ

โดยธนาคารกลางของญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า ในขณะนี้ สถานการณ์โลกส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าต่าง ๆ ขึ้นเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง จากผลกระทบของสงครามในยูเครน ซึ่งธนาคารกลางของญี่ปุ่นจะพิจารณาเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย ภายหลังจากปัจจัยเรื่องของการปรับอัตราค่าจ้างแรงงานในประเทศเป็นที่เรียบร้อย

ค่าไฟฟ้ายังคงขอขึ้นราคาต่อเนื่อง

บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าในญี่ปุ่นได้ยื่นขอขึ้นอัตราค่าไฟฟ้าต่อรัฐบาลญี่ปุ่นในรอบเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ โดยบริษัท 5 จาก 10 แห่งได้ขอปรับขึ้นค่าไฟฟ้าตั้งแต่ 28% ถึง 45% ซึ่งทางด้านของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) กําลังตรวจสอบว่าจะอนุมัติการขึ้นราคาหรือไม่

โดยจะมีการพิจารณาจากราคาน้ำมัน ก๊าซ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาผู้ผลิตไฟฟ้าระบุว่า ต้องแบกรับภาระจากราคาเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่ผ่านมามีการทยอยปรับขึ้นไปแล้ว เช่น

นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณามาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยมีนโยบายอุดหนุนค่าไฟฟ้าในครัวเรือน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอยู่ด้วยเช่นกัน

ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นสะท้อนได้จากราคาสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มประหยัดพลังงาน, โซลาร์เซล์ สามารถจำหน่ายได้มากขึ้น

(ภาพ – Il Vagabiondo)

อาหารพุ่งต่อเนื่อง

ราคาอาหารในญี่ปุ่นยังคงเผชิญภาวะกดดันจากทั้งต้นทุนพลังงาน วัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาแป้งสาลีเพิ่มขึ้นแล้วราว 17% จากการที่รัสเซียและยูเครน ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในตลาดโลก

ทำให้สินค้าอื่น ๆ จำพวกเส้น ขนมปัง และอื่น ๆ ที่ต้องใช้แป้งสาลีเป็นวัตถุดิบ หรือส่วนผสมมีการปรับขึ้นราคาตามไปด้วย

ในขณะที่น้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหาร ก็เพิ่มขึ้นไปแล้วถึง 31.7% ราคาปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ ก็ปรับขึ้นอีก 29.4% เนื่องจากจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งเพี่อเลี่ยงน่านฟ้ารัสเซีย รวมถึงค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อราคาซูชิในร้านอาหารจำนวนมากในญี่ปุ่น ซึ่งราคาสินค้าที่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น

โดยทางรัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่าง ๆ จะเริ่มชะลอตัวลงในเดือนกุมภาพันธ์ และน่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นเพียงระยะสั้น ๆ จากผลกระทบของราคาไฟฟ้าและก๊าซ

สำหรับราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบให้ยอดขายในร้านอาหารจำนวนมากเริ่มลดลง เนื่องจากชาวญี่ปุ่นปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากยอดขายสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น 1.9% เมื่อเทียบจากปีก่อน

อย่างไรก็ตาม สินค้าอุปโภค – บริโภคในญี่ปุ่น ก็ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสินค้าและเครื่องดื่มจำนวนกว่า 5,000 รายการได้ทยอยปรับราคาขึ้นไปแล้วในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 16% ไม่ว่าจะเป็นอาหารแช่แข็ง, ซอสปรุงรส, ขนมและของหวาน, เครื่องดื่มต่าง ๆ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

(ภาพ – Hong Feng)

เนื้อ นม ไข่ ผักสดพุ่งสูงต่อเนื่อง

กลุ่มผู้ผลิตนมและผลิตภัณฑ์จากนม ระบุว่า คาดว่าการผลิตน้ำนมดิบในญี่ปุ่นจะลดลงเป็นปีที่สองติดต่อกัน เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเลิกกิจการเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากราคาต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น และปัญหาที่เกิดขึ้นกำลังส่อแววที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ในขณะที่ราคาไข่ไก่ ในบางพื้นที่พบว่า มีราคาเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างมากจากทั้งต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนก ทำให้ต้องมีการทำลายสัตว์ปีก รวมถึงไก่จำนวนหลายล้านตัว และส่งผลกระทบต่อปริมาณของไข่ไก่

ส่วนทางด้านของผักสดหลายชนิด ก็ปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น จากผลกระทบของสภาพอากาศหนาวจัดในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้สินค้าเกษตรเสียหาย ไม่ได้ผลผลิตมากเท่าที่ควร เช่น มะเขือยาว แตงกวา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง