KEY :
- ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่
- โดยมีปัจจัยมาจากสภาพอากาศเย็น กระแสลมที่อ่อนกำลังลง ทำให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้เพิ่มขึ้น
- ในพื้นที่ต่างจังหวัด มีรายงานพบจุดความร้อนจากการเผามากขึ้น
- ในพื้นที่กทม. มีฝุ่นควันสะสมตัวและส่งผลให้ PM 2.5 อยู่ในระดับสีส้ม 5 เขตด้วยกัน
…
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทย หลังจากที่อากาศบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น และกระแสลมเริ่มอ่อนลง ส่งผลให้ฝุ่นละออกงขนาดเล็กหรือ PM 2.5 เริ่มกลับมาเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ในประเทศอีกครั้ง
โดยข้อมูลจุดตรวจวัดของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มช. เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า มีหลายพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น ในบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสานบางส่วน ในขณะที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลเริ่มอยู่ในระดับสีเหลือง สีส้มหลายพื้นที่
สำหรับ 10 จุดที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงที่สุดในประเทศ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา คือ
จุดตรวจวัด | PM 2.5 (μg/m3) | |
---|---|---|
1. | ศพด.บ้านป่าตึงงาม จ.เชียงใหม่ | 418 |
2. | รพ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร | 359 |
3. | ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน | 178 |
4. | ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี ต.สามพร้าว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี | 154 |
5. | รพ.ภูสิงห์ (กรีนพีซ) ต.ห้วยติ๊กชู อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ | 152 |
6. | รพ.สต.ค่ายสว่าง ต.นาดี อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู | 151 |
7. | รพ.สต. บ้านหว้า ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น | 140 |
8. | อบต.ค่ายบางระจัน ต.บางระจัน อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี (กพร.) | 135 |
9. | รพ.ปากชม ต.ปากชม อ.ปากชม จ.เลย | 133 |
10. | รพ.สต.โนนทัน ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น | 132 |
สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียงกรุงเทพมหานคร ได้รายงานเมื่อช่วงเช้า พบว่า ในหลาย ๆ เขต ค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในรอบ 24 ชม. ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสีเหลือง และอยู่ในระดับสีส้มประกอบไปด้วย
- เขตทวีวัฒนา 54 µg/m3
- เขตหนองแขม 54 µg/m3
- เขตปทุมวัน 52 µg/m3
- เขตเขตหนองจอก 52 µg/m3
- เขตคลองสามวา 51 µg/m3
พบจุดความร้อนในประเทศมากขึ้น
จากรายงานจุดความร้อนของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ของวันที่20 ธ.ค. ที่ผ่านมา ประเทศไทยพบจุดความร้อนทั้งหมด 327 จุด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่พบอยู่ 244 จุด ซึ่งจากจำนวนทั้งหมดพบจุดความร้อนในพื้นที่ ประกอบไปด้วย
- พื้นที่เกษตร 173 จุด (เพิ่มขึ้น)
- พื้นที่ในเขต สปก. 57 จุด (ลดลง)
- เขตชุมชนและอื่น ๆ 51 จุด (เพิ่มขึ้น)
- ป่าสงวนแห่งชาติ 33 จุด (เพิ่มขึ้น)
- ริมทางหลวง 9 จุด (เพิ่มขึ้น)
- ป่าอนุรักษ์ 4 จุด (ลดลง)
ในขณะที่จุดความร้อนในประเทศเพื่อนบ้านก็มีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
ข้อมูล :
- ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียงกรุงเทพมหานคร