คัดลอก URL แล้ว
“กำแพงรายได้ต่อปี” ปัญหาของแม่บ้านเต็มชาวญี่ปุ่นที่ต้องการ “หารายได้เสริม” ให้ครอบครัว

“กำแพงรายได้ต่อปี” ปัญหาของแม่บ้านเต็มชาวญี่ปุ่นที่ต้องการ “หารายได้เสริม” ให้ครอบครัว

KEY :

ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศญีปุ่นช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายคนต้องออกจากงาน หรือเปลี่ยนงาน หลายครอบครัวที่แม่บ้านต้องมองหารายได้เสริม เพื่อช่วยเหลือครอบครัว จากการขาดรายได้

รวมถึงสภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ส่งผลให้ราคาสินค้าต่าง ๆ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์ราคาน้ำมันและพลังงานที่เพิ่มขึ้น จากสถานการณ์ในยูเครน รวมถึงค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง

นอกจากนี้จากสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้หลายบริษัทระบุว่า ในปีนี้ จะไม่มีโบนัสเพิ่มเติมให้กับพนักงาน ในขณะที่อีกหลายบริษัทยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับเงินเดือน หรือเงินช่วยเหลือค่าครองชีพพนักงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เงินเดือนของพ่อบ้าน ผู้ที่เป็นกำลังหลักในการหาเงินเลี้ยงคนในครอบครัวส่งผลกระทบต่อภาวะการเงินในครอบครัวที่ตึงตัวมากขึ้น

แรงขับดันของปัญหาดังกล่าว ทำให้บรรดาแม่บ้านชาวญี่ปุ่นบางส่วนพยายามใช้เวลาที่เหลือ เพื่อออกมาหารายได้เสริมจุนเจือครอบครัว แต่การออกมาหารายได้เสริมจากปรกติกำลังทำให้แม่ชาวญี่ปุ่นบางรายกำลังเผชิญปัญหา “กำแพงรายได้ต่อปี” จากการทำรายได้เสริม

กำแพงรายได้ต่อปีคืออะไร?

ในประเทศญี่ปุ่นจะมีการกำหนดรายรับของชาวญี่ปุ่นไว้ ซึ่งรายได้จะประกอบไปด้วย เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา (โอที) สวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเลี้ยงดูครอบครัว ค่าอาหาร หรือค่าเดินทาง ทั้งหมดนี้จะถูกนับรวมเป็นรายได้ เพื่อนำไปหักภาษี โดยแบ่งเป็น

ซึ่งความต่างของภาษีสองแบบนี้คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือภาษีประเทศจะจัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง เก็บ ณ ที่จ่าย และสามารถขอคืนได้ในกรณีที่เงินรายได้รวมไม่เกิน 1.03 ล้านเยนต่อปี จะสามารถขอคืนเงินภาษีที่หักไป และผู้ที่มีครอบครัวที่ต้องดูแล ก็จะสามารถขอคืนได้

ในขณะที่ภาษีท้องถิ่นนั้น จะถูกจัดเก็บโดยเมืองที่อาศัยอยู่ เพื่อใช้ในการพัฒนาเมือง และจะจัดเก็บเมื่อมีรายได้เกิน 1 ล้านเยนต่อปี โดยจะเรียกเก็บในปีถัดไป และอัตราภาษีก็จะต่างกันไปเล็กน้อยในแต่ละเมือง สำหรับชาวญี่ปุ่นที่มีการเสียภาษีบ้านเกิดไปแล้ว สามารถนำยอดมาหักลดหย่อนได้

จากภาษีทั้งสองส่วนจะเห็นว่า เมื่อมีรายได้เกิน 1 ล้านเยนต่อปี จะมีการหักภาษีเก็บในส่วนเพิ่มเติมเหล่านี้ขึ้นมาทันที สำหรับแม่บ้านเต็มเวลาที่มีพ่อบ้านเป็นกำลังหลักในการหารายได้ เมื่อออกมาทำงานหารายได้เสริมและได้รับเงินเกิน 1.03 ล้านเยน/ปี ก็จะต้อง “เสียภาษี” ทั้งสองส่วน

นั่นทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นกลายเป็นกำแพงที่ทำให้ แม่บ้านชาวญี่ปุ่นไม่สามารถออกมาทำงานได้อย่างเต็มที่แม้ว่าจะมีเวลาเหลือพอจะทำงานพาร์ทไทม์ในช่วงกลางวันได้ก็ตาม ซึ่งผลสำรวจโดยสถาบันวิจัยโนมูระของเอกชน ระบุ ผลสำรวจแม่บ้านที่มีคู่สมรสทั่วประเทศกว่า 3 พันคน เกือบ 62% ระบุว่า “จำเป็นต้องปรับชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน เพื่อรักษารายได้ต่อปีให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้” โดยให้ต่ำกว่า 1.03 ล้านเยน/ปี

และกำแพงไม่ได้มีอันเดียว

สำหรับแม่บ้านเต็มเวลาที่ออกมาทำงานหารายได้เสริมจากงานพาร์ทไทม์ และมีรายได้เกิน 1.03 ล้านเยน/ปี จะต้องมีการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเข้ามา นั่นเป็นเพียงกำแพงชั้นแรก ที่แม่บ้านเต็มเวลาชาวญี่ปุ่นต้องเจอ แต่ยังมีกำแพงอีกชึ้นหนึ่งที่รออยู่ หากมีรายงานเสริมเกินกว่า 1.06 ล้านเยน/ปี (หรือบางกรณีที่ 1.3 ล้านเยน/ปี) นั่นคือ

“เงินประกันสังคม”

สำหรับเงินประกันสังคมในญี่ปุ่นจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ

เงินประกันเหล่านี้จะถูกจัดเก็บ “โดยไม่สามารถหักลดหย่อน” แม้ว่าจะมีครอบครัวที่ต้องดูแล หรือพูดง่าย ๆ ทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์จะต้องจ่ายเงินประกันสุขภาพเหล่านี้ทุกคน

ดังนั้นหมายความว่า แม่บ้านเต็มเวลาในญี่ปุ่น หากออกมาทำงานพาร์ทไทม์ จะต้องเผชิญกับกำแพงรายได้ต่อปี คือ

ซึ่งนอกจากนี้ ยังมีกำแพงขั้นถัด ๆ ไปอีก หากมีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นสำหรับการหารายได้เสริมสำหรับแม่บ้านเต็มเวลาในประเทศญี่ปุ่น จึงจะอยู่ที่ระดับรายได้ไม่เกิน 1 ล้านเยนต่อปี แต่จุดที่เสี่ยงมากที่สุดคือ 1.06 ล้านเยนต่อปี ซึ่งต้องจ่ายเงินประกันสังคมเอง ไม่สามารถพ่วงประกันสังคมร่วมกับสามีได้นั่นเอง

เมื่อวิกฤติเกิดขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์เงินเฟ้อ และค่าใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น และครอบครัวที่มีขนาดใหญ่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่า การที่แม่บ้านเต็มเวลาเหล่านี้ ต้องออกมาทำงานพาร์ทไทม์เพื่อหารายได้เสริมจริงมีมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่อีกเช่นกัน เพื่อรักษาระดับรายได้ ไม่ให้มากเกินกำแพงรายได้ต่อปีที่มีอยู่ในขณะนี้

กำแพงรายได้ต่อปีเหล่านี้ ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของภาคเอกชนที่จ้างพนักงานพาร์ทไทม์เหล่านี้ด้วยเช่นกัน จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและต้องการคนเข้าทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่กลับไม่สามารถจ้างงานได้เต็มที่นัก เนื่องจากแม่บ้านที่มาทำงานเหล่านี้ จะพยายามกำหนดจำนวนชั่วโมงการทำงาน เพื่อไม่ให้เกินกำแพงรายได้ต่อปีนั่นเอง

และนอกจากนี้ เมื่อค่าแรงต่อชั่วโมงที่เพิ่มสูงขึ้น นั่นหมายความว่า ชั่วโมงการทำงานก็จะต้องลดลง ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องหาพนักงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนชั่วโมงการทำงานที่หายไป


ที่มา – https://www3.nhk.or.jp/news/html/20221125/k10013902171000.html


ข่าวที่เกี่ยวข้อง