คัดลอก URL แล้ว
หนี้สาธารณะสหรัฐฯ พุ่งทะลุ 31 ล้านล้านดอลลาร์

หนี้สาธารณะสหรัฐฯ พุ่งทะลุ 31 ล้านล้านดอลลาร์

KEY :

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ในขณะนี้ หนี้สาธารณะของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่สูงถึง 31.1 ล้านล้านเหรียญฯ แตะระดับสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยในช่วงตั้งปี 2020 – 2022 นี้ หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จากการใช้เงินมากกว่าที่สามารถหาได้อย่างมากในช่วงหลัง สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่รัฐบาลจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินอุดหนุนต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรค และการอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา หลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย

ตลอดระยะเวลาที่สหรัฐฯ เผชิญการระบาดของโควิด-19 ในช่วงงที่ผ่านมา สภาคองเกรสได้อนุมัติจัดสรรเงินในวิกฤติการระบาดของโควิด-19 และมีการใช้จ่ายไปแล้วราว 3.4 ล้านล้านเหรียญฯ ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นให้หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ทะลุ 120% และทำลายสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1946


ประเด็นย่อยที่น่าสนใจ


ในขณะที่ในช่วงครึ่งปีแรก สถานการณ์ในยูเครนก็ทำให้ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ และเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ออกมาปรับอัตราดอกเบี้ย เพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งทำให้หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นไปอีก ซึ่งการกู้ยืมเงินของสหรัฐฯ เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งยังคงเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ

โดยหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ กำลังจะแตะระดับเพดานที่กฎหมายกำหนดไว้ คือราว 31.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และตัวเลขหนี้สาธารณะนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่อ่อนแออยู่ในขณะนี้เพิ่มขึ้นอีกด้วย แม้ว่า ระธานาธิบดีโจ ไบเดน จะพยายามลดการขาดดุล และมีผลักดันให้มีการลงนามใน พ.ร.บ. ลดเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) ที่อยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี แต่มูลหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นก็ยังคงน่ากังวล

นอกจากนี้ นโยบายการยกเลิกหนี้หนี้เพื่อการศึกษาในแก่ผู้ที่กู้เงินจำนวนหลายสิบล้านคน มูลค่าหลายพันล้านเหรียญฯ ก็ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางเสียงคัดค้านของหลายฝ่ายต่อนโยบายดังกล่าว

นักวิเคราะห์กังวล กระทบเศรษฐกิจ

ในขณะเดียวกัน หนี้ค้างชำระของสหรัฐฯ ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยอยู่ที่เกือบ 8 ล้านล้านเหรียญฯ โดยเฉพาะในในปี 2022 นี้ ยอดหนี้ค้างชำระพุ่งสูงขึ้นถึง 1 ล้านล้านเหรียญฯ ในระยะเวลาเพียง 8 เดือนเท่านั้น และตั้งแต่ในปี 2016 หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ก็มีเพิ่มสูงขึ้นแซงหน้า GDP อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 125% ของ GDP และในปี 2022 นี้ คาดว่า จะอยู่ที่ระดับ 135% ของ GDP ท่ามกลางดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น

ในขณะนี้เดียวกัน การปรับเพิ่มเพดานหนี้ ก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินของสหรัฐฯ ที่ไม่ต่างจากการราดน้ำมันเข้ากองไฟที่กำลังแรงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับเพิ่มสูงขึ้น

ซึ่งสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยภายนอกประเทศ ไม่ว่า จะเป็นราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ปัญหาพลังงานระหว่างสหรัฐฯ ยุโรป และรัสเซีย การสู้รบที่เกิดขึ้นในยูเครน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงเศรษฐกิจโลกอีกด้วย

คณะกรรมการฝ่ายบริหารงบประมาณแผ่นดินสหรัฐ หรือ CRFB เคยคาดการณ์ไว้ว่า ในช่วงระหว่างปี 2564 – 2574 การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 4.8 ล้านล้านเหรียญฯ และการกู้เงินที่มากเกินไปจะส่งผลให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้หนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้น โดยรัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มถึง 3 เท่าตัวในช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปีข้างหน้านี้


10 ประเทศแรกที่เป็นเจ้าหนี้ของสหรัฐฯ

จากข้อมูลในปีงบประมาณ 2021 สหรัฐฯ สัดส่วนหนี้ในประเทศอยู่ที่ราว 42% ในขณะที่หนี้ต่างประเทศอยู่ที่ราว 34% และที่เหลือเป็นหนี้ของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีก 24% สำหรับ 10 อันดับแรกที่เป็นเจ้าหนี้ของสหรัฐฯ คือ

ประเทศมูลค่า (พันล้านเหรียญฯ)เปอร์เซ็นต์
ญี่ปุ่น1,30017%
จีน1,04814%
สหราชอาณาจักร5667%
ลักเซมเบิร์ก3124%
ไอร์แลนด์3104%
สวิตเซอร์แลนด์2944%
หมู่เกาะเคย์แมน2674%
ไต้หวัน2393%
เบลเยียม2213%
บราซิล2493%
ประเทศอื่น ๆ 2,76537%

ดอกเบี้ย อาจจะแพงกว่า “งบกลาโหม”

ซึ่งแนวทางการแก้ไขนั้นมีทางเลือกอยู่ไม่มากนัก คือ การลดค่าใช้จ่าย การขึ้นภาษี และการเพิ่ม GDP ในขณะที่บางส่วนเสนอแนะการเปลี่ยนงบประมาณด้านความมั่นคงให้เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อที่จะลดอัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุว่า ในปีนี้ สามารถลดการขาดดุลงบประมาณลงได้เกือบ 1.5 ล้านล้านเหรียญ แต่นั่นก็ยังคงไม่เพียงพอต่ออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ เพื่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา –


ข่าวที่เกี่ยวข้อง