ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย พันตำรวจเอก ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พันตำรวจโท พเยาว์ ทองเสน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรวีร์ ไวยวุฒิ รองผู้อำนวยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และคณะพนักงานสืบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ จะมีการแถลงข่าวถึงผลการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ได้รับจากนายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค และคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา
ทั้งนี้ภายหลังจากได้รับวัตถุพยานซึ่งอ้างว่าเป็นผ้าของนางสาวนิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม ที่สวมใส่ในขณะเสียชีวิต และเป็นวัตถุพยานสำคัญซึ่งส่งมาจากต่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ส่งให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบ โดยมีการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้อง 19 คนประสานข้อมูลกับ 12 หน่วยงานและตรวจสอบวัตถุประยานทั้ง 13 รายการ และมีการลงพื้นที่เกิดเหตุร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ผลการตรวจพิสูจน์ที่สำคัญปรากฏว่าคราบเลือดที่อยู่บนผ้าเป็นของมนุษย์เพศชาย และจากการตรวจสอบแบบละเอียดสารพันธุกรรมบ่งชี้ว่าเป็นคนเชื้อชาติยูเรเปี้ยนอินเดี้ยน ส่วนหยดเลือดที่พบตรวจสอบการกระจายตัวพบว่าไม่ได้เป็นการกระทำที่เกิดจากการฆาตกรรมแต่เป็นการตั้งใจให้เกิดรอยเปื้อน
ส่วนพยานวัตถุที่พบเป็นเส้นผมบนผ้ามีเส้นผมสีดำเป็นเส้นผมมนุษย์เพศชายสารพันธุกรรมตรงกับที่พบบนผ้าคือเป็นของมนุษย์เพศชายเชื้อชาติยูเรเปี้ยนอินเดี้ยน ซึ่งจากการตรวจสอบแบบลงลึกพบว่าเป็น DNA ของบุคคลเดียวกัน ส่วนเส้นผมยาวสีบรอนซ์ทองเป็นเส้นผมของมนุษย์แต่มีสารพันธุกรรมในปริมาณน้อยไม่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ว่าเป็นเชื้อชาติใด
พยานวัตถุต่อมาที่พบคือ เศษผงที่ปนเปื้อนในผ้าวัตถุพยานพบเป็นวัตถุอื่นซึ่งไม่ใช่ดินหรือโคลนที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาณจุดเกิดเหตุ พบว่าเป็นแร่ควอตซ์ ควอนิค และ แอนโนไทต์
อีกทั้งจากการตรวจสอบภาพจากพยานหลักฐานต่างๆ ที่พบเห็นแตงโมสวมใส่เสื้อผ้า พบว่า ผ้าผืนที่แตงโมสวมในวันเกิดเหตุมีลักษณะทางกายภาพของผ้าไม่เหมือนกันคือ ผ้าที่แตงโมใส่ในวันเกิดเหตุจะมีรอยขาดอยู่ 2 รู แต่ผ้าที่ส่งตรวจไม่มีรอยขาดซึ่งเป็นตำหนิคนละจุดกับภาพพยานหลักฐานที่มีการสืบสวนไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มีโอกาสเห็นผ้าผืนดังกล่าวก่อนที่จะทำการส่งมาที่ประเทศไทย แต่เมื่อทางคณะกรรมาธิการนำกล่องพยานหลักฐานที่ถูกส่งมาจากต่างประเทศมาเปิดดูที่ประเทศไทยกับพบว่า ถ้ามีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรืออาจเป็นผ้าคนละผืนกัน อีกทั้งจากการตรวจสอบชื่อที่จ่าหน้าซองพัสดุที่ใส่วัตถุพยานมาที่ประเทศไทยในทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทยกลับไม่พบรายชื่อดังกล่าว
จากข้อเท็จจริงที่ DSI รวบรวมพยานหลักฐานมาได้ระยะหนึ่งแล้วเป็นเพียงพยานแวดล้อมและพยานความเห็นเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่ตำรวจได้มีการแถลงข่าวประกอบกับผู้ร้องขอไม่ได้นำวัตถุประยานเช่นคลิปวีดีโอหรือพยานหลักฐานอื่นๆที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆมามอบให้ DSI สอบสวนจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามที่มีการร้องขอให้ดำเนินการทั้งนี้ DSI จัดยังสืบสวนเรื่องดังกล่าวต่อไปอีกระยะหนึ่งแต่หากสืบสวนแล้วไม่พบความผิดก็จะยุติการสืบสวนในคดีนี้ โดยจะให้เวลาจนถึงเดือนกันยายน 2565 ซึ่งจะครบกำหนดการเปิดรับข้อมูลในคดีดังกล่าว ไปหากมีพยานหลักฐานใดเพิ่มเติมยังสามารถส่งในกรอบเวลาดังกล่าวได้โดยแจ้งมาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือกระทรวงยุติธรรม
ส่วนการตรวจสอบทำให้การของนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมพบว่าทำให้การต่างๆ เลื่อนลอย ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันซึ่งส่วนใหญ่ทำให้การเป็นการยึดเครดิตการสืบสวนสอบสวนของตำรวจในคดีดังกล่าว แต่ไม่มีพยานหลักฐานมาประกอบทำให้กระบวนการยุติธรรมมีปัญหาและอาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทได้ หากผู้เสียหายจากคำให้การจะแจ้งความดำเนินคดี
ถ้ามีเมื่อพยานหลักฐานต่างๆ ออกมากระทรวงยุติธรรมจะแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ที่สร้างพยานหลักฐานเท็จ จนทำให้เกิดการเสียงบประมาณของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรมและกรมทรัพยากรธรณีวิทยา มูลค่าเกือบ 100,000 บาท และเสียเวลาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนสอบสวน ในข้อหาแจ้งความเท็จ และความผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพยานหลักฐานปลอมทุกคนซึ่งอาจรวมถึงบังแจ็คด้วย
ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต ยังเปิดใจที่ว่าหลังจากที่พยานหลักฐานดังกล่าวออกมามองว่า ประชาชนไม่ควรให้ความเชื่อถือกับบุคคลดังกล่าวเพราะจะทำให้กระบวนการยุติธรรมเสียหายซึ่งหากบุคคลใดที่ยังไม่เชื่อผลการตรวจดังกล่าวสามารถมาขอดูผ้าหรือขอนำผ้าดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์เองในสถาบันที่ตนเองเชื่อมั่นได้