หม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยุคล
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (29 พฤศจิกายน 2485 – ) ประสูติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา รู้จักกันในนามลำลองว่า ท่านมุ้ย ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้เขียนบท ผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทรงคุ้นเคยกับการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่เยาว์ เนื่องจากตามเสด็จพระบิดา และหม่อมมารดา ผู้บุกเบิกภาพยนตร์ไทย และก่อตั้งบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ซึ่งผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2481
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ทรงศึกษาชั้นมัธยมที่วชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ เอกสาขาธรณีวิทยา และโท สาขาภาพยนตร์ เป็นเพื่อนร่วมห้องเรียนกับฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา และโรมัน โปลันสกี้ ในระหว่างศึกษาชั้นปริญญาตรีทรงฝึกงานเป็นผู้ช่วยในทีมงานของ มีเรียน ซี. คูเปอร์ [1] ผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ช้าง (1927) และ คิงคอง (1933)
ทรงเริ่มเขียนบท และกำกับละครโทรทัศน์ เรื่อง “หญิงก็มีหัวใจ” ในปี พ.ศ. 2501 ถวายพระบิดา จากนั้นทรงก่อตั้ง บริษัท พร้อมมิตรภาพยนตร์ (ตั้งชื่อตามชื่อซอยพร้อมมิตร ที่ตั้งของวังละโว้ วังของพระบิดา) มีผลงานกำกับละครโทรทัศน์ “ห้องสีชมพู” (2512) , “เงือกน้อย” (2515) , และ”หมอผี” (2516)
ทรงกำกับภาพยนตร์ “มันมากับความมืด” เป็นเรื่องแรก เมื่อ พ.ศ. 2514 และ ทรงได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่น พ.ศ. 2516 จากเรื่องเขาชื่อกานต์ และส่งให้สรพงศ์ ชาตรี เป็นพระเอกยอดนิยมต่อมา
ผลงานกำกับภาพยนตร์
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2550)
ความรักครั้งสุดท้าย (2545)
สุริโยไท (2544)
กล่อง (2541)
เสียดาย 2 (2539)
เสียดาย (2537)
เฮโรอีน (2537)
มือปืน 2 สาละวิน (2536)
น้องเมีย (2536)
คนเลี้ยงช้าง (2533)
ครูสมศรี (2529)
อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527)
หน่วยล่า 123 (2526)
มือปืน (2526)
ถ้าเธอยังมีรัก (2524)
อุกาฟ้าเหลือง (2523)
กาม (2521)
ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520)
รักคุณเข้าแล้ว (2520)
เทวดาเดินดิน (2519)
นางแบบมหาภัย (2518)
ผมไม่อยากเป็นพันโท (2518)
ความรักครั้งสุดท้าย (2517)
เทพธิดาโรงแรม (2517)
เขาชื่อกานต์ (2516)
มันมากับความมืด (2514)
อำนวยการสร้าง
โหมโรง (2547)
หนังสือนิพนธ์
โลกสีคราม พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดวงตา,พ.ศ. 2524
เหี้ย ห่า และสารพัดสัตว์ สำนักพิมพ์สามสี, มิถุนายน 2535 ได้รับรางวัลส่งเสริมสิ่งแวดล้อมจากชมรมสิ่งแวดล้อมสยาม