คัดลอก URL แล้ว
ย้อนไทม์ไลน์ “เชย์จู แอร์” โศกนาฎกรรมทางการบินครั้งใหญ่ของเกาหลีใต้

ย้อนไทม์ไลน์ “เชย์จู แอร์” โศกนาฎกรรมทางการบินครั้งใหญ่ของเกาหลีใต้

ทำความรู้จักสายการบิน “เชย์จู แอร์ (Jeju Air)” ซึ่งเป็นสายการบินโลว์คอสต์ที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 ให้บริการเส้นทางหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย

“เกาหลีใต้” เกิดหายนะทางการบินครั้งใหญ่ ในรอบ 30 ปี

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2024 เกิดอุบัติเหตุทางอากาศที่รุนแรงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี ของเกาหลีใต้ หลังเวลา 22.15 น. เครื่องบินโดยสารสายการบิน “เชย์จู แอร์” เที่ยวบินที่ “7C2216” ได้ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิของไทย มุ่งหน้าไปยังสนามบินมูอัน จังหวัดซอลลาใต้ ประเทศเกาหลีใต้ โดยมีผู้โดยสารและลูกเรือรวม 181 คน ส่วนใหญ่เป็นกรุ๊ปทัวชาวเกาหลีใต้ที่มาพักผ่อนช่วงคริสต์มาสในไทย และมีผู้โดยสารชาวไทยด้วย 2 คน

มี “คำแจ้งเตือน” เกี่ยวกับฝูงนกฝูงใหญ่ส่งไปถึงนักบิน

ต่อมาการเดินทางเป็นไปตามปกติ จนกระทั่งเวลา 08.54 น. ตามเวลาประเทศไทย หอควบคุมการบินของเกาหลีใต้ได้มีคำแจ้งเตือนเกี่ยวกับฝูงนกไปยังเครื่องบินลำนี้ จากนั้นอีก แค่ 7 นาที เวลา 09.51 น. นักบินแจ้งกลับมาว่าเครื่องบินชนเข้ากับฝูงนก “Bird Strike” และเครื่องยนต์ด้านขวาได้รับความเสียหาย

เครื่องบินลงจอดฉุกเฉิน แต่ระบบลงจอด “ไม่ทำงาน”

จากนั้นนักบินส่งสัญญาณฉุกเฉิน “เมย์เดย์” (Mayday) เพื่อขอลงจอดทันทีที่สนามบินปลายทาง และในเวลา 09.03 น. นักบินก็นำเครื่องลงจอด แต่ประสบปัญหาต่อมาคือ “ระบบลงจอดไม่ทำงาน” ทำให้ “ล้อไม่กางออก” และเมื่อระบบลงจอดไม่ทำงาน จึงทำให้เครื่องบินต้องลงจอดด้วยการครูดไปกับรันเวย์ โดยไร้ “เบรก” ซึ่งทำให้เพียงแค่ภาวนาให้เครื่องบินลดความเร็วลงเอง และเกิดการปะทะให้เบาที่สุด แต่สุดท้ายเครื่องบินลำนี้ก็พุ่งชนเข้ากับกำแพงที่จุดสิ้นสุดรันเวย์อย่างแรง ทำให้เครื่องบินเสียหาย และเกิดไฟไหม้

อุบัติเหตุที่ “เลี่ยงไม่ได้” เพราะรันเวย์สนามบิน “สั้นเกินไป”

หลังเกิดเหตุมีการวิเคราะห์เหตุการณ์ทั้งหมด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การลงจอดลักษณะนี้ ถือเป็นการลงจอดฉุกเฉินในกรณีระบบลงจอดไม่ทำงานที่ “กระทำได้” แต่ปัญหาคือ รันเวย์ของสนามบินมูอัน “สั้นเกินไป” มีระยะเพียง 2,800 เมตรเท่านั้น เพราะเป็นสนามบินขนาดเล็ก ต่างจากสนามบินนานาชาติอินชอน ที่มีระยะรันเวย์ 4,000 เมตร หรือ สนามบินนานาชาติกิมโป ที่มีระยะรันเวย์ 3,600 เมตร ซึ่งระยะดังกล่าวของสนามบินมูอัน “ไม่เพียงพอ” ต่อการลงจอดฉุกเฉินไม่ลักษณะนี้

แต่ในความเป็นจริง สนามบินมูอัน มีแผนขยานรันเวย์ออกไปให้ยาวถึง 3,160 เมตร โดยจะแล้วเสร็จในปี 2025 ดังนั้นแล้วการลงจอดลักษณะนี้ นักบินทราบอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่ “เลี่ยงไม่ได้” และเป็นการจอดที่ “วัดใจ” อย่างมาก เนื่องจากหากไม่ลงจอด มีโอกาสที่เครื่องจะไปตกในจุดอื่น และอาจสร้างความเสียหายที่หนักหนากว่าได้

ปาฎิหารย์บังเกิด

ทันทีที่เกิดเหตุ ทีมกู้ภัยและเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ระดมกำลังเข้าระงับเหตุทันที และเริ่มการช่วยเหลือผู้โดยสารทั้งหมด แต่ที่สุดแล้ว ผู้โดยสาร 181 คน เหลือรอดชีวิตอย่างปาฎิหารย์เพียงแค่ 2 คนเท่านั้น เป็นพนักงานต้อนรับทั้งคู่ ซึ่งขณะเกิดเหตุนั่งอยู่บริเวณท้ายเครื่องบิน โดยทั้งคู่อาการค่อนข้างสาหัส จากกระดูกหักหลายจุด แต่ยังมีข่าวดีที่ทั้งคู่มีสติ และยังตอบโต้เจ้าหน้าที่ได้บ้าง

เริ่มต้นสืบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง

หลังเหตุการณ์สงบลง ทีมกู้ภัยเข้าตรวจสอบซากเครื่องบิน และได้พบกล่องบันทึกข้อมูลการบิน หรือ “กล่องดำ” ทั้ง 2 กล่องแล้ว โดยกล่องบันทึกเสียงอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนกล่องบันทึกการบินได้รับความเสียหาย ซึ่งการถอดรหัสคาดว่าอาจใช้เวลา 1 เดือน หรือมากที่สุดคือ 3 ปี ซึ่งแม้จะต้องรอผลการตรวจสอบอย่างละเอียด แต่ก็มีการคาดเดาถึงความเป็นไปได้ว่า สาเหตุของโศกนาฎกรรมทางการบินครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 30 ปีในเกาหลีใต้ น่าจะมาจาก “ฝูงนก” ที่หลุดเข้าไปในเครื่องยนต์

“เกาหลีใต้”เผชิญหายนะทางการบินมาแล้ว 4 ครั้งจากอดีต – ปัจจุบัน

ย้อนกลับไปจากในอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า “เกาหลีใต้” ได้เผชิญโศกนาฎกรรมทางการบินมาแล้ว 4 ครั้งด้วยกัน หากนับรวมเหตุการณ์ล่าสุด ดังนี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง