คัดลอก URL แล้ว
อียูมีมติทบทวนสิทธิทางภาษี “กัมพูชา” กดดันแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน

อียูมีมติทบทวนสิทธิทางภาษี “กัมพูชา” กดดันแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน

รัฐสภายุโรป มีมติ 492 เสียง ในการลงมติทบทวนมาตรการปลอดภาษี ภายใต้โครงการ EBA ( Everything But Arms ) ที่เปิดโอกาสให้ประเทศที่กำลังพัฒนาน้อยที่สุด ได้รับสิทธิในการค้าที่ปลอดภาษีกับยุโรป

โดยรัฐสภายุโรปได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาการปราบปราม จับกุม และคุกคามภาคประชาสังคม รวมถึงการปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่ถูกจับและกักขังอยู่ในเรือนจำในขณะนี้ด้วย พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องให้กัมพูชาแก้ไขกฏหมายต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และกฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อให้แรงงานและภาคประชาสัมคมต่าง ๆ ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ

สมาชิกรัฐสภาเน้นย้ำว่า การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปกป้องเสรีภาพของภาคประชาสังคมจะเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน นอจกานี้ ยังได้เรียกร้องให้บริษัทที่ดำเนินการในสหภาพยุโรปที่ซื้อสินค้าจากกัมพูชาดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานของตนอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกด้วย

โดยก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรปได้มีการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ของกัมพูชาไปแล้วบางส่วน เมื่อปี 2020 เนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่งผลให้มาตรการปลอดภาษีในสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า ได้รับผลกระทบ

ทางด้านของโฆษกพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ได้ออกมาระบุว่า ประเทศกัมพูชามีการส่งเสริมประชาธิปไต และมีหลักนิติธรรม ซึ่งที่ผ่านมา กัมพูชาไม่มีนักโทษทางการเมือง มีเพียงนักการเมืองที่ทำผิดกฎหมาย และถูกจับกุมเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ช่วยเหลือกลุ่มก่อความไม่สงบ และกลุ่มหัวรุนแรงในต่างประเทศเท่านั้น และพรรคประชาชนกัมพูชา เป็นหนึ่งใน 40 พรรคการเมือง และชนะการเลือกตั้ง จนบริหารประเทศมานานกว่า 45 ปีแล้ว

ในขณะเดียวกัน กลุ่มนักเคลื่อนไหวและกลุ่มสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา ระบุว่า แม้จะรู้สึกยินดีกับารที่สหภาพยุโรปที่มีมาตรการกดดันกับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้กัมพูชาอาจจะถูกเพิกถอนสิทธิพิเศษทางภาษี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก และกระทบต่อแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง

โฆษกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกัมพูชา (CCHR) ได้ออกแถลงการณ์ ระบุว่า กัมพูชารู้สึกเสียใจจากการตัดสินใจของสหภาพยุโรปในครั้งนี้ และถือเป็นมติที่มีอคติและไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

ซึ่งที่ผ่านมา กัมพูชาได้มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้ในรัฐธรรมนูญ และเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ รวมถึงสิทธิทางการเมืองได้อย่างเสรี ภายใต้ข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ ส่วนกรณีของการจับกุม ดำเนินคดีกับบุคคลบางคนนั้น เกิดขึ้นจากการใช้สิทธิและเสรีภาพที่ละเมิดข้อกฎหมาย

นอกจากนี้ ยังได้เรียกร้องให้นานาประเทศเคารพอธิปไตยของกัมพูชา พร้อมกับเชื่อว่ายุโรปจะตัดสินอย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงบริบทที่แท้จริง


ที่มา :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง