คัดลอก URL แล้ว
“กรมป่าไม้” แถลงเคลียร์ “ไร่เชิญตะวัน“ ไม่รุกป่าสงวนฯ

“กรมป่าไม้” แถลงเคลียร์ “ไร่เชิญตะวัน“ ไม่รุกป่าสงวนฯ

“กรมป่าไม้” เคลียร์ปม มูลนิธิวิมุตตยาลัยและศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน ของ ว.วชิรเมธี รุกป่าสงวนแห่งชาติดอยปุย เผย! ตรวจสอบแล้วไม่รุกป่าสงวนฯ

วันนี้ ( 25 ต.ค.) กรมป่าไม้แถลงข่าวผลการตรวจสอบกรณีพื้นที่ที่กรมป่าไม้อนุญาตให้มูลนิธิวิมุตตยาลัยและศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน ของ พระ ว.วชิรเมธี เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย ว่าสรุปแล้ว บุกรุกป่าสงวนฯ เกินกว่าขอใช้ประโยชน์หรือไม่นั้น

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะโฆษกกรมป่าไม้เปิดเผยว่าจาก กรณีที่เป็นข้อสงสัยของสังคมซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้โดยในเบื้องต้นกรมป่าไม้ขอชี้แจงว่ากรมป่าไม้ได้อนุญาตให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและมูลนิธิวิมุตตยาลัยให้เข้าทำประโยชน์อยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 3 แปลง ดังนี้

แปลงที่ 1 เนื้อที่ 113 ไร่ 1 งาน 82 ตารางวา โดยมูลนิธิวิมุตตยาลัยได้รับการอนุญาตจากกรมป่าไม้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ธรรมสมโภช 750 ปี รัตนบุรีเชียงราย และเพื่อใช้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน

แปลงที่ 2 เนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 97 ตารางวา ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เพื่อเป็นสถานที่จัดตั้งวัดไร่เชิญตะวัน

แปลงที่ 3 เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 1 ตารางวา อนุญาตให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สร้างศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิงตะวันเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566

โดย 22 ต.ค. ที่ผ่านมา กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ของศูนย์วิปัสสนาไร่เชิงตะวันพร้อมสำนักพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย ฝ่ายปกครองและองค์กรส่วนท้องถิ่น รวมถึฝเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิมุตยาลัย ตรวจสอบพื้นที่ทั้ง 3 แปลง ซึ่งคณะเจ้าหน้าที่ที่ร่วมกันตรวจสอบ ลงความเห็นว่ามูลนิธิฯ และสำนักพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย ได้ครอบครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตหนังสือที่ได้รับอนุญาต ยังไม่พบทำเกินจากเงื่อนไข // มีที่ดินของประชาชนใกล้เคียง ยืนยันว่าพื้นที่ไร่เชิญตะวันไม่ได้รุกล้ำเข้ามา และประกอบกับภาพถ่ายดาวเทียมยืนยัน

โดยหนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์หรืออาศัยอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีสัญญา 30 ปี เริ่มตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน 2566 จนถึง 22 พฤศจิกายน 2596 มีเงื่อนไข 29 ข้อของกรมป่าไม้ที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกำหนดว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง หากมีการทำเกินกว่ากำหนด มีความผิดตามมาตร 14 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ สามารถเพิกถอนใบอนุญาต

ซึ่งรองอธิบดี ยังอยากฝากประชาชน ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาให้ หากมีจุดไหนของประเทศที่น่าสงสัยให้สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ในพื้นที่ได้ทั่วประเทศไทยได้ทันที


ข่าวที่เกี่ยวข้อง