เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายของผู้ขับขี่พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยระบุเหตุผล ในการประกาศใช้กฏกระทรวงฉบับนี้ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ และมาตรา ๑๔๒ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒) กฎกระทรวงฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๖๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๒ การทดสอบผู้ขับขี่ว่าเมาสุราหรือไม่ ให้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายของผู้ขับขี่ โดยวิธีตรวจวัดจากลมหายใจด้วยเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยการเป่าลมหายใจ (BREATH ANALYZER TEST) และอ่านค่าของแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ วิธีการทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้ปฏิบัติตามวิธีการตรวจสอบของเครื่องตรวจแต่ละชนิด
ข้อ ๓ ในกรณีที่ไม่สามารถทดสอบผู้ขับขี่โดยวิธีตรวจวัดจากลมหายใจได้ ให้ตรวจวัด ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายของผู้ขับขี่โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจวัดจากปัสสาวะ
(๒) ตรวจวัดจากเลือด
การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ขับขี่ ก่อนจึงจะดําเนินการได้
ข้อ ๔ การทดสอบโดยวิธีตรวจวัดจากปัสสาวะตามข้อ ๓ (๑) ให้ทดสอบจากตัวอย่างปัสสาวะของผู้ขับขี่ โดยในการเก็บตัวอย่างดังกล่าวต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีภาชนะที่เหมาะสมสําหรับเก็บตัวอย่างปัสสาวะพร้อมฝาปิดให้แก่ผู้ขับขี่
(๒) จัดให้ผู้ขับขี่ขับถ่ายปัสสาวะในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว โดยมีการควบคุมการเก็บตัวอย่าง
เพื่อป้องกันมิให้มีการสับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลง
(๓) จัดให้มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างปัสสาวะบนฉลากของภาชนะตาม (๑) และมีการ ปิดผนึกภาชนะดังกล่าวด้วย โดยให้ผู้ขับขี่ลงลายมือชื่อกํากับบนฉลากนั้น
เมื่อได้เก็บตัวอย่างปัสสาวะของผู้ขับขี่ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานจราจร แล้วแต่กรณี ส่งตัวอย่างปัสสาวะไปยังโรงพยาบาลหรือ สถานที่และภายในระยะเวลาที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติกําหนด เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทางเคมี ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในตัวอย่างปัสสาวะดังกล่าว ภายใต้การกํากับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
ข้อ ๕ การทดสอบโดยวิธีตรวจวัดจากเลือดตามข้อ ๓ (๒) ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานจราจร แล้วแต่กรณี ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ภายในระยะเวลาที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติกําหนด เพื่อเก็บตัวอย่างเลือดด้วยวิธีทางการแพทย์ ซึ่งต้องไม่เป็นอันตรายอย่างอื่นต่อร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น ทั้งนี้ ภายใต้การกํากับดูแล ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
ข้อ ๖ ในกรณีที่ผลการทดสอบปรากฏว่า ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย ขอให้ถือว่าเมาสุรา ดังต่อไปนี้
(๑) ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน ๒๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สําหรับผู้ขับขี่ในกรณี
(ก) ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ํากว่ายี่สิบปี
(ข) ผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(ค) ผู้ขับขี่ซึ่งมีใบอนุญาตขับขี่สําหรับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้
(ง) ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ (๒) ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน
(๑) ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สําหรับผู้ขับขี่ซึ่งมิใช่ผู้ขับขี่ ตาม (๑)
ข้อ ๗ ในการตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะ ให้เทียบผลการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์
ในร่างกายที่ได้รับจากเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยการเป่าลมหายใจหรือผลทดสอบ
ทางเคมีจากการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในตัวอย่างปัสสาวะ แล้วแต่กรณีโดยใช้ปริมาณแอลกอฮอล์
ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ ๒,๐๐๐
(ข) กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับเศษ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗
ภูมิธรรม เวชยชัย
รองนายกรัฐมนตรี