คัดลอก URL แล้ว
ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรวจติดตามโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ระยะที่ 2) จังหวัดขอนแก่น

ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรวจติดตามโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ระยะที่ 2) จังหวัดขอนแก่น

วันที่ 16 สิงหาคม 2567 พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และคณะ เดินทางไปตรวจติดตามโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่บ้านหนองแวง หมู่ที่ 7 ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ

สืบเนื่องจากประชาชนพื้นที่บ้านหนองแวง ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้รับความเดือดร้อน ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาด สำหรับำอุปโภคบริโภค อ่างเก็บน้ำแห้งในช่วงฤดูแล้ง น้ำบาดาลมีสภาพเป็นหินปูน มีความกระด้างสูง และบางส่วนเป็นพื้นที่น้ำบาดาลเค็ม ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาสูงเพื่อให้มีน้ำสะอาดมาใช้ ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้จัดทำโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งให้แก่พื้นที่ตำบลยางคำ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ระยะที่ 2) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 และเป็น 1 ใน 18 โครงการ ครอบคลุม 10 จังหวัด

โครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 มีประชาชนในพื้นที่ตำบลยางคำที่ได้รับประโยชน์จำนวน 9 หมู่บ้าน 1,878 ครัวเรือน หรือ 7,195 คน คิดเป็นปริมาณน้ำใช้กว่า 334,811 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีการใช้บริการน้ำดื่มสะอาดแล้วกว่า 2,700 ลูกบาศก์เมตร ช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มีแหล่งน้ำที่มีความมั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น รูปแบบของโครงการ ประกอบด้วย บ่อน้ำบาดาล จำนวน 8 บ่อ ระบบประปาบาดาลขนาดใหญ่ ได้แก่ ถังเหล็กเก็บน้ำความจุ 1,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง หอถังเหล็กเก็บน้ำชนิดรักษาแรงดันขนาดความจุ 300 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ถัง ถังกรองสนิมเหล็ก จุดจ่ายน้ำถาวร ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และอาคารศูนย์เรียนรู้ด้านน้ำบาดาล พร้อมระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่ม


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง