คัดลอก URL แล้ว
พอช.ผนึกพันธมิตรการรถไฟฯ เดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนจนริมรางครั้งใหญ่  

พอช.ผนึกพันธมิตรการรถไฟฯ เดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนจนริมรางครั้งใหญ่  

พอช.ผนึกพันธมิตรการรถไฟฯ เดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนจนริมรางครั้งใหญ่  27,084 ครัวเรือน 300 ชุมชน 35 จังหวัด ชี้เป็นการจัดระเบียบรื้อสร้างบ้านใหม่ใน 5 ปี เปิดหลักเกณฑ์ยื่นขอเช่าที่ดินรฟท.ด่วน พร้อมเงินช่วยเหลือรายครัวเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างระบบรางทั่วประเทศ

นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าววถึงการขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง ระยะเวลา 5 ปี (2566-2570)ว่า โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 เห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอแนวทางการแก้ไขและพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รีบผลกระทบจากการพัฒนาระบบรางซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ แต่โครงการดังกล่าวได้ส่งกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 35 จังหวัด 300 ชุมชน 27,084 ครัวเรือน รัฐบาลจึงมอบหมายให้ พอช.เป็นเจ้าภาพดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา 5 ปี ภายใต้งบประมาณ 7,718 ล้านบาท โดยร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทยในฐานะเจ้าของพื้นที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินแห่งใหม่รองรับการรื้อสร้างบ้านใหม่ให้ประชาชนทั้ง 35 จังหวัดเป็นอย่างดี

ผู้ช่วย ผอ.พอช. กล่าวว่าพอช.การรถไฟฯ เครือข่ายสลัมสี่ภาค และภาคีเครือข่าย เริ่มต้นสำรวจข้อมูลในที่ดิน รฟท.มาตั้งแต่ปี 2563-2565 ในช่วงนั้นกลุ่มพีมูฟยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล 15 กรณี หนึ่งในนั้นมีเรื่องการแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดิน รฟท. รัฐบาลสมัยนั้นมอบให้ พม.โดย พอช.เสนอโครงการรองรับเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน ก่อนจะออกมาเป็นมติครม.14 มีนาคม2566 ดังนั้นแนวทางพัฒนาโครงการนี้ คือ ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมบริหารจัดการร่วมมือกันเพื่อเกิดชุมชน ที่อยู่อาศัยมั่นคงน่าอยู่มีสุขภาวะ โดยขั้นตอนการดำเนินงานหลักๆ เปิดพื้นที่สร้างความเข้าใจชุมชน/เมือง สำรวจข้อมูลชุมชนตรวจสอบ จำนวน ครัวเรือน อาชีพรายได้ กลุ่มเปราะบาง จากนั้นพิจารณารับรองสิทธิ์ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ สหกรณ์ กำหนดรูปแบบการพัฒนาทั้งในที่ดินเดิมที่ไม่อยู่ในพื้นที่พัฒนาหรือเขตกำหนดที่การรถไฟจัดให้เช่าได้ตามเงื่อนไข หรือจัดหาพื้นที่รองรับชุมชนใหม่ ยื่นเอกสารเพื่อขอเช่าที่ดินรฟท. ทำสัญญาเช่าที่ดิน

“ชาวบ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 27,084 ครัวเรือน ใน 35 จังหวัด ต้องยื่นเรื่องเช่าที่ดินกับ รฟท.ให้แล้วเสร็จภายในปี 2570 ซึ่งมีหลักเกณฑ์ว่าระยะห่างจากรางรถไฟ 20 เมตรแรก ห้ามอยู่อาศัย เนื่องจากเป็นเขตความปลอดภัยในการเดินรถ , 21-40 เมตร สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้โดยทำสัญญาคราวละ 3 ปี และ 41 เมตรขึ้นไปทำสัญญาคราวละ 30 ปี ทั้งนี้ รฟท.จัดแปลงที่ดินที่อยู่อาศัยไม่เกิน 50 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนกลาง 30%  คิดอัตราค่าเช่าเริ่มต้น 9-25 บาทต่อตารางเมตรต่อปี และอัตราค่าเช่าที่ดินเพิ่ม 5% ทุก 5 ปี“

นายสยาม นนท์คำจันทร์ กล่าวว่าสำหรับหลักเกณฑ์การให้เงินสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และที่อยู่อาศัย เฉลี่ยต่อครัวเรือน แบ่งเป็นกรณีรื้อสร้างบ้านใหม่ได้รับงบสนับสนุน 35,000 บาท , สร้างอาคารที่อยู่อาศัยรวม (3 ชั้นขึ้นไป) รับงบสนับสนุน 45,000 บาท , พัฒนาที่อยู่อาศัยรับงบอุดหนุน 30,000 บาท  ส่วนงบสนับสนุนการบริหารจัดการชุมชนร่วมกัน 50,000-500,000 บาทต่อชุมชน นอกจากนี้ยังมีงบประมาณสนับสนุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ แบ่งเบาครัวเรือนที่ร่วมโครงการ เช่น ค่าเช่า หรือปลูกสร้างที่พักชั่วคราวระหว่างรอสร้างที่อยู่ใหม่  เฉลี่ยครัวเรือนละไม่เกิน 70,000 บาท 

ทั้งนี้พื้นที่เป้าหมายที่ พอช.เข้าไปแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบรางร่วมกับการรถไฟฯ ท้องถิ่น ภาคี และเครื่อข่ายใน 35 จังหวัด 300 ชุมชน 27,084 ครัวเรือน แยกเป็นภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ จำนวน 24 ชุมชน 865 ครัวเรือน , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา  อุดรธานี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ จำนวน 58 ชุมชน 3,463 ครัวเรือน , ภาคกรุงเทพปริมณฑลและตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา นครปฐม ปทุมธานี สระแก้ว จำนวน 48 ชุมชน 5,988 ครัวเรือน , ภาคกลางและตะวันตก 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ประจวบฯ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี จำนวน 18 ชุมชน 1,600 ครัวเรือน , ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช ชุมพร ตรัง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี จำนวน 152 ชุมชน 15,168 ครัวเรือน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง