ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันจันทร์ที่ 29 ม.ค. 2567 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 39.3-61.9 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 48.5 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงเกินมาตรฐานและอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 68 พื้นที่
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 39.3 – 59.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 68 พื้นที่ โดย 5 อันดับสูงสุดได้แก่
- 1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 59.5 มคก./ลบ.ม.
- 2.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 58.8 มคก./ลบ.ม.
- 3.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 57.6 มคก./ลบ.ม.
- 4.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 57.3 มคก./ลบ.ม.
- 5.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 56.9 มคก./ลบ.ม.
ข้อแนะนำสุขภาพ:
- คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารจำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมากควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 29 – 30 ม.ค. 67 การระบายอากาศค่อนข้างอ่อน ประกอบกับสภาวะอากาศมีลักษณะปิดใกล้ผิวพื้นต่อเนื่องส่งผล ส่งผลให้การระบายฝุ่นละอองเป็นไปได้อย่างจำกัดและเกิดการสะสม สำหรับช่วงวันที่ 31 ม.ค. – 3 ก.พ.67 การระบายอากาศดี ประกอบกับสภาวะอากาศใกล้ผิวพื้นปิดสลับเปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงดีขึ้น และคาดการณ์วันนี้มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 29 มกราคม 2567 จำนวน 1 จุด เวลา 02.00 น. แขวงออเงิน เขตสายไหม(อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดเผาไหม้)