วันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 17.00 น ที่ ห้องประชุม หมอพร 1 ชั้น 4 โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ร่วมกับ นางสาวปัทมพันธ์ อนันตพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ นพ.อธิคม บัวเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงินการคลัง นายวรรณะ วรรณแสงทอง หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ นางประทุมพร ทองภูเบศร์ นักสังคมสงเคราะห์ ชำนาญการ ได้มอบบัตรประชาชนให้นางจำนงค์ นัยวัฒน์ อายุ 74 ปี ซึ่งเกิดที่จังหวัดพิษณุโลก โดยปัจจุบันอาศัยอยู่ที่จ.ชุมพร
นาย สุโข คงมิตร อายุ 54 ปี ลูกเขยของ นางจำนงค์ เล่าว่า ได้แต่งงานกับนางวาสนา เบ็ญจขันท์ อายุ 44 ปี และมีบุตรชายด้วนกัน และนางศศิกานต์ เอียดช่วย อายุ 22 ปี เป็นลูกสะใภ้ โดยทั้งหมดอาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกัน และในเวลาหลายสิบปีก็ได้ประสานทางราชการเพื่อที่จะจัดทำบัตรประชาชนให้กับ นางจำนงค์ แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่จะต้องเดินทางไปที่บ้านเกิดของนางจำนงค์ จังหวัดพิษณุโลก
ต่อมานางจำนงค์ เกิดอุบัติเหตุล้ม ทำให้เป็นแผลที่ดวงตา ได้เดินทางมารักษาตัวที่โรงพยาบาลชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ ก็พบปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายจึงทำการรักษาไม่ต่อเนื่อง จนทำให้มีอาการรุนแรงที่ดวงตา และได้รับความกรุณาจาก นางสาวปัทมพันธ์ อนันตพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ให้ไปติดต่อยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ สำนักทะเบียนอำเภอท่าแซะ ทำเรื่องให้ นางจำนงค์ เข้าโครงการ คนไทย ต้อง” ไม่ไร้สิทธิ์ ” เข้าถึง ” สิทธิ ” อย่างเท่าเทียม และ ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที อำเภอท่าแซะ ทำเรื่องมายังโรงพยาบาลเครือข่ายเก็บสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ (DNA) ที่โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เป็นศูนย์ประสานงาน ของ ภาคใต้ตอนบน จนสามารถดำเนินการทำบัตรประชาชนให้ภายใน 3 เดือน เป็นที่ดีใจให้กับครอบครัว และขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ดำเนินการให้
นางสาวปัทมพันธ์ อนันตพงศ์ เผย โครงการ คนไทย ต้อง “ไม่ไร้สิทธิ์” เข้าถึง “สิทธิ” อย่างเท่าเทียม ด้วย 7 ขั้นตอน
- ตรวจสอบสถานะทางทะเบียน – ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร – มีชื่อและรายการอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง – ถูกจำหน่ายรายการทางทะเบียน
- รวบรวมเอกสารทางทะเบียน – บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง – บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา – สูติบัตร – ทะเบียนบ้านที่เคยมีชื่อ – ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ – เอกสารอื่นๆ ที่ราชการออกให้ – กรณีที่ไม่มีเอกสารใด ๆ ที่ใช้อ้างอิงก็สามารถยื่นคำร้องได้
- ยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ฯ – สำนักทะเบียนอำเภอ หรือ – สำนักทะเบียนท้องถิ่น (ที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ปัจจุบัน)
- ตรวจสอบเอกสาร – เจ้าหน้าที่รับคำร้อง – ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น
- พิจารณา – ตรวจสอบหลักฐาน- สอบสวนพยานบุคคล
- แจ้งผลฯให้ผู้ร้องทราบ – ผ่านการพิจารณา – หลักฐานไม่เพียงพอต้องตรวจ DNA
- ถ้าไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติได้ จะได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติเป็นบุคคลประเภท 0 (มาตรา 19/2)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม – สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง 0-2791-7312-6
หมายเหตุ : กรณีที่มีหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก แต่ติดทะเบียนบ้านกลางหรือถูกจำหน่ายรายการต้องการใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาล โทร.สายด่วน สปสช. 1330 – บุคคลทะเบียนประวัติประเภท 0 มาตรา(19/2) สอบถามสิทธิรักษาพยาบาล ติดต่อ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ เบอร์ 02-590-1577 ในวันและเวลาราชการ รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ website สปสช. : https://www.nhso.go.th/