“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ตลอดรัชสมัยแห่งการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยสิริราชสมบัตินั้น ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม ทรงยึดมั่นในพระปฐมบรมราชโองการทุกข์สุขของราษฎรเสมือนเป็นทุกข์สุขของพระองค์
ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่ทรงครองราชย์ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย ผืนแผ่นดินไทยไม่มีที่พื้นใดที่ไม่มีรอยพระบาทของพระองค์ถึงแม้ว่าเส้นทางการคมนาคมในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะท้องถิ่นชนบทจะทุรกันดารเพียงใด ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับพระราชภารกิจที่จะต้องเข้าถึงทั้งพื้นที่และราษฎรของพระองค์ ทรงซักถามข้อมูลจากราษฎร ทำให้ทรงรับทราบปัญหาต่าง ๆ ทั้งปัญหาเรื่องดิน น้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร รวมถึงการขาดความรู้ทางวิชาการในการเพาะปลูก ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่ภาคใต้ก็ประสบปัญหาเรื่องดิน ดินพรุ น้ำเค็ม ภาคอีสานก็ประสพปัญหาภัยแห้งแล้ง ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายอุ้มน้ำไม่อยู่ ภาคเหนือก็เช่นเดียวกันทั้งน้ำท่วมน้ำแล้งโดยสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการตัดไม้ทำลายป่า การแผ้วทางพื้นที่ป่าเพื่อใช้เพาะปลูกพืช จึงทรงคิดค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้ราษฎรสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ในท้องถิ่นให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโครงการต่าง ๆ มากมายตามมาโดยมีทั้งโครงการที่ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ตัวอย่างเช่นโครงการตามพระราชประสงค์ ซึ่งเป็นโครงการที่ทรงศึกษา ทดลองปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อให้แน่พระทัยว่าโครงการนั้น ๆ เป็นประโยชน์แก่ราษฎร จึงให้รัฐบาลรับงานต่อไป นอกจากนี้ยังมีโครงการหลวง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าโครงการดังกล่าวมุ่งเน้นพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรชาวเขาให้อยู่ดีกินดี เลิกการปลูกฝิ่น ตัดไม้ทำลายป่า และการทำไร่เลื่อนลอย ทรงพัฒนาการประกอบอาชีพโดยให้ปลูกพืชที่มีคุณค่าได้ราคาและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่อากาศ จวบจนปัจจุบันผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการหลวงเป็นที่ยอมรับของตลาด อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำได้คืนความสมบูรณ์อีกครั้ง ณ วันนี้ชาวไทยภูเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างประจักษ์ชัด
โครงการพระราชดำริ มรดกของแผ่นดิน
นอกจากนี้ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในปัจจุบันมีมากกว่า 5,000 โครงการ ที่ได้รับการสืบสาน รักษา และต่อยอดจากพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสืบสานแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ราษฎรชาวไทย และการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นครอบคลุมในทุกด้านทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ การพัฒนาอาชีพ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม หนึ่งในนั้นก็มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วยศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จ.ฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จ.จันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จ.สกลนคร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ้องไคร้ฯ จ.เชียงใหม่ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี รวมถึงศูนย์สาขาอีก 19 แห่ง กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เปรียบเสมือนมรดกอันล้ำค่าของแผ่นดินที่พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย สถานที่แห่งนี้สำหรับใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย และสาธิต พัฒนาอาชีพเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในลักษณะการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของประชาชนทั้งในเรื่องของการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกรนั้นมีมากมายและได้ต่อยอดขยายผลอย่างไม่สิ้นสุด อีกทั้งหน่วยงานราชการ ต่างกรม ต่างกอง ต่างกระทรวง ได้มาบริหารจัดการ วางแผนงาน และวางแผนงบประมาณร่วมกัน ในรูปแบบการบริหารงานแบบบูรณาการ แก้ไขปัญหาร่วมกันแบบสหวิทยาการ ทุกหน่วยงานดำเนินงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว (Single Management)
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความยั่งยืนเพื่อชาวไทยและชาวโลก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกหนึ่งในแนวพระราชดำริที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง คือความไม่ประมาท พอประมาณ มีเหตุผล เพื่อสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง คือยึดความประหยัด ลดละความฟุ่มเฟือย ยึดการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ละเลิกการแก่งแยกผลโประโยชน์ ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งหลังจากประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในวงกว้าง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทรงส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนให้สามารถยกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมได้ในระดับที่พอเพียงได้ ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาในอีกหลาย ๆ ด้าน ปัจจุบันหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชน และประชาชนทั่วไปได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้จนเกิดผลสัมฤทธิ์เห็นผลเป็นรูปธรรมที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และมิเพียงชาวไทยเท่านั้นที่ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ แต่ยังนำไปสู่การปฏิบัติใช้ของนานาประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การสหประชาชาติจึงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม ซึ่งราชกิจจานุเบกษาประกาศให้เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช” แปลว่าวันระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ 9 ผู้ยิ่งใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ในฐานะหน่วยงานกลางในการรับและประมวลพระราชดำริเพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนงานและจัดสรรงบประมาณ ตลอดจนติดตามประเมินผล ประชาสัมพันธ์ขยายผลองค์ความรู้ไปสู่ประชาชนให้ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ขอน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และจะร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนสืบไป
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ตลอดรัชสมัยแห่งการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยสิริราชสมบัตินั้น ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม ทรงยึดมั่นในพระปฐมบรมราชโองการทุกข์สุขของราษฎรเสมือนเป็นทุกข์สุขของพระองค์
ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่ทรงครองราชย์ทรงอุทิศพระวรกายประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย ผืนแผ่นดินไทยไม่มีที่พื้นใดที่ไม่มีรอยพระบาทของพระองค์ถึงแม้ว่าเส้นทางการคมนาคมในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะท้องถิ่นชนบทจะทุรกันดารเพียงใด ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับพระราชภารกิจที่จะต้องเข้าถึงทั้งพื้นที่และราษฎรของพระองค์ ทรงซักถามข้อมูลจากราษฎร ทำให้ทรงรับทราบปัญหาต่าง ๆ ทั้งปัญหาเรื่องดิน น้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร รวมถึงการขาดความรู้ทางวิชาการในการเพาะปลูก ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่ภาคใต้ก็ประสบปัญหาเรื่องดิน ดินพรุ น้ำเค็ม ภาคอีสานก็ประสพปัญหาภัยแห้งแล้ง ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายอุ้มน้ำไม่อยู่ ภาคเหนือก็เช่นเดียวกันทั้งน้ำท่วมน้ำแล้งโดยสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการตัดไม้ทำลายป่า การแผ้วทางพื้นที่ป่าเพื่อใช้เพาะปลูกพืช จึงทรงคิดค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้ราษฎรสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ในท้องถิ่นให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโครงการต่าง ๆ มากมายตามมาโดยมีทั้งโครงการที่ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ตัวอย่างเช่นโครงการตามพระราชประสงค์ ซึ่งเป็นโครงการที่ทรงศึกษา ทดลองปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อให้แน่พระทัยว่าโครงการนั้น ๆ เป็นประโยชน์แก่ราษฎร จึงให้รัฐบาลรับงานต่อไป นอกจากนี้ยังมีโครงการหลวง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าโครงการดังกล่าวมุ่งเน้นพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรชาวเขาให้อยู่ดีกินดี เลิกการปลูกฝิ่น ตัดไม้ทำลายป่า และการทำไร่เลื่อนลอย ทรงพัฒนาการประกอบอาชีพโดยให้ปลูกพืชที่มีคุณค่าได้ราคาและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่อากาศ จวบจนปัจจุบันผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการหลวงเป็นที่ยอมรับของตลาด อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำได้คืนความสมบูรณ์อีกครั้ง ณ วันนี้ชาวไทยภูเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างประจักษ์ชัด
โครงการพระราชดำริ มรดกของแผ่นดิน
นอกจากนี้ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในปัจจุบันมีมากกว่า 5,000 โครงการ ที่ได้รับการสืบสาน รักษา และต่อยอดจากพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสืบสานแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ราษฎรชาวไทย และการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นครอบคลุมในทุกด้านทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ การพัฒนาอาชีพ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม หนึ่งในนั้นก็มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วยศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จ.ฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จ.จันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จ.สกลนคร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ้องไคร้ฯ จ.เชียงใหม่ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี รวมถึงศูนย์สาขาอีก 19 แห่ง กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เปรียบเสมือนมรดกอันล้ำค่าของแผ่นดินที่พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทย สถานที่แห่งนี้สำหรับใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย และสาธิต พัฒนาอาชีพเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในลักษณะการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของประชาชนทั้งในเรื่องของการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกรนั้นมีมากมายและได้ต่อยอดขยายผลอย่างไม่สิ้นสุด อีกทั้งหน่วยงานราชการ ต่างกรม ต่างกอง ต่างกระทรวง ได้มาบริหารจัดการ วางแผนงาน และวางแผนงบประมาณร่วมกัน ในรูปแบบการบริหารงานแบบบูรณาการ แก้ไขปัญหาร่วมกันแบบสหวิทยาการ ทุกหน่วยงานดำเนินงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว (Single Management)
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความยั่งยืนเพื่อชาวไทยและชาวโลก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกหนึ่งในแนวพระราชดำริที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง คือความไม่ประมาท พอประมาณ มีเหตุผล เพื่อสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง คือยึดความประหยัด ลดละความฟุ่มเฟือย ยึดการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ละเลิกการแก่งแยกผลโประโยชน์ ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งหลังจากประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในวงกว้าง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทรงส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนให้สามารถยกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมได้ในระดับที่พอเพียงได้ ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาในอีกหลาย ๆ ด้าน ปัจจุบันหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ชุมชน และประชาชนทั่วไปได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้จนเกิดผลสัมฤทธิ์เห็นผลเป็นรูปธรรมที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และมิเพียงชาวไทยเท่านั้นที่ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ แต่ยังนำไปสู่การปฏิบัติใช้ของนานาประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การสหประชาชาติจึงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม ซึ่งราชกิจจานุเบกษาประกาศให้เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช” แปลว่าวันระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ 9 ผู้ยิ่งใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ในฐานะหน่วยงานกลางในการรับและประมวลพระราชดำริเพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนงานและจัดสรรงบประมาณ ตลอดจนติดตามประเมินผล ประชาสัมพันธ์ขยายผลองค์ความรู้ไปสู่ประชาชนให้ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ขอน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และจะร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนสืบไป