คัดลอก URL แล้ว
“วิษณุ” แจงยิบ​ ไทม์ไลน์เลือกตั้ง​ -​ ขั้นตอนอำนาจรักษาการ​ครม.​ ยัน ปรับคณะรัฐมนตรีได้ หากจำเป็น

“วิษณุ” แจงยิบ​ ไทม์ไลน์เลือกตั้ง​ -​ ขั้นตอนอำนาจรักษาการ​ครม.​ ยัน ปรับคณะรัฐมนตรีได้ หากจำเป็น

นายอนุชา​ บูรพชัยศรี​ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี​ วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้รับทราบการชี้แจง ของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ถึง Timeline หรือตารางเวลาโดยคร่าว ของการเลือกตั้ง ถึงระยะเวลาที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับรัฐบาลรักษาการ จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

โดยในเบื้องต้น สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน จะครบวาระในวันที่ 23 มีนาคม 2566​ ตามรัฐธรรมนูญ หากสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ จะต้องมีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน แต่หากมีการยุบสภาเกิดขึ้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ว่าจะต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการยุบสภาหรือครบวาระ จะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนี้อย่างแน่นอน ส่วนเรื่องของวันเลือกตั้ง อยู่ในกรอบระยะเวลาของแต่ละกรณี โดยคาดการณ์ว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2566​ และจะประกาศรับรองในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม

ส่วนขั้นตอนต่อไปจะมีการเสด็จพระราชดำเนินเปิดสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตั้งประธานสภา ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนกรกฎาคม และหลังจากนั้น จะเป็นการเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม และจะเป็นขั้นตอนการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ต่อมาก็คือในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมเช่นกัน

โดยเมื่อมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว จะมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี โดยการที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ จะใช้เวลาในช่วงต้นเดือนสิงหาคม

ทั้งนี้ นายอนุชากล่าวว่า ไม่ว่ารัฐบาลชุดนี้จะยุบสภาหรืออยู่ครบวาระ รัฐบาลชุดปัจจุบัน จะต้องรักษาการอีกประมาณ 4 เดือนครึ่งโดยคร่าว ถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2566​ ส่วนวุฒิสภายังคงมีอยู่ แต่ไม่สามารถประชุมได้ เว้นแต่จะเป็นการพิจารณาในการตั้งองค์กรอิสระ พี่จะสามารถดำเนินการได้

ขณะที่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติต่างๆที่ค้างอยู่ในสภา ทั้ง 2 สภาฯ ประมาณ 29 ฉบับ จะถูกตกไปในทันที และหากหลังเลือกตั้งรัฐบาลจะนำมาพิจารณาต่อก็สามารถดำเนินการได้ ส่วนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและพระราชบัญญัติที่มีการกราบบังคมทูลไปแล้วอยู่ที่ 11 ฉบับ ซึ่งต้องดำเนินการต่อไปตามปกติ หากมีความจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลสามารถออกพรก. ได้ ส่วนการออกพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงต่างๆก็ยังสามารถที่จะดำเนินการออกได้ตามปกติเช่นเดิม

ส่งผลที่เกี่ยวข้องกับ ครม. เมื่อ พ้นตำแหน่งแต่ยังอยู่ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป คือ ครม. รักษาการจนกว่าครม.ชุดใหม่จะเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ จะมีการรักษาการ จำนวนเอกสารราชการ หรือการรายงานข่าว ไม่จำเป็นต้องรักษาการสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ส่วนข้าราชการการเมืองทุกตำแหน่ง ยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และพ้นจากตำแหน่งในวันเดียวกันกับวันที่คณะรัฐมนตรีพ้นตำแหน่ง

ส่วนหากคณะรัฐมนตรีรักษาการมีรัฐมนตรีลาออก ยืนยันว่าไม่กระทบต่อคณะรัฐมนตรี ครม. ยังสามารถประชุมได้ นายกรัฐมนตรีเองมียังคงมีอำนาจในการปรับครม. ได้ หากมีความจำเป็น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง