คัดลอก URL แล้ว
เริ่มแล้วเทศกาลหนังกรุงเทพ 20-22 ม.ค.นี้ จัดเสวนาเข้ม ดัน Soft Power ด้าน Film

เริ่มแล้วเทศกาลหนังกรุงเทพ 20-22 ม.ค.นี้ จัดเสวนาเข้ม ดัน Soft Power ด้าน Film

กรุงเทพมหานคร นำโดย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศานนท์ หวังสร้างบุญ พร้อมกับคณะบริหารกรุงเทพมหานคร เปิด “เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566” (Bangkok Film Festival) อย่างเป็นทางการ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเทศกาลจัดในช่วงสุดสัปดาห์วันที่ 20-22 ม.ค. 2566
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศานนท์ หวังสร้างบุญ กล่าวบนเวทีในงานพิธีเปิดว่า

“กรุงเทพมหานครมีนโยบายด้านเศรษฐกิจดีและสร้างสรรค์ดี เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับมหานครให้เป็นเมืองยั่งยืนน่าอยู่สำหรับทุกคน รวมถึงนโยบายจัด 12 เดือน 12 เทศกาล ตลอดปีทั่วกรุงเทพมหานคร โดยเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งใน 12 เทศกาล เพื่อปลุกกระแสให้ประชาชนมีความสนใจ มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น” นายศานนท์ กล่าว

ทั้งนี้พิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานครในครั้งนี้ มีคณะบริหารกรุงเทพมหานครมาร่วมงานอย่าง สมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว, สิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว, เยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ร่วมถึงแขกผู้เกียรติในแวดวงภาพยนตร์และสารดคี รวมถึงผู้จักและผู้สนับสนุนงานอย่าง อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ที่ปรึกษาพิเศษ เนชั่นกรุ๊ป, ศาสตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์, หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี, และยุพา เพ็ชรฤทธิ์ รัตนจันทร์ กรรมการสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย จากบริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่น

ในงานยังมีการประกาศผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์สารคดีสั้นกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “เชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร 2030” (CONNECTING BANGKOK 2030) โดยผู้ส่งเข้าประกวดทั้งนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปอายุไม่เกิน 28 ปี เพื่อชิงเงินรางวัลรวม 200,000 บาท ซึ่งกรรมการตัดสิน ได้แก่ ชนินทร์ ชมะโชติ นายกสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย, ขวัญเรือน ถาวรทวีวงษ์ Executive Director บริษัทสื่อดลใจ, ณัฐพงษ์ โอฆะพนม โปรดิวเซอร์อิสระ และอดีตบก.โต๊ะบันเทิง เนชั่นทีวี

ผลผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์สารคดีสั้นกรุงเทพมหานคร ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ มูลค่า 65,000 บาท ได้แก่เรื่อง Bangkok and Generation โดย อนุวัตร ด้วงบุญมา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มูลค่า 45,000 บาท ได้แก่ เรื่อง ภาพฝันเมืองเขียว(Dreams of a Green City) โดย นายปฏิพัทธิ์ อัคราพูนรัตน์ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รางวัลรองชนะเลิศรองอันดับ 2 มูลค่า 30,000 บาท ได้แก่ เรื่อง Hallo Bangkok โดย วิทยา ดอกกลาง

รางวัลรางวัลชมเชย 4 รางวัลๆละ 15,000 บาท ได้แก่

กรุงเทพมหานครให้การสนับสนุนผลักดัน Soft Power ด้าน Film ขับเคลื่อน “กรุงเทพมหานคร” สู่มหานครสร้างสรรค์ จัดเสวนา กรุงเทพ “มีดี” Creative City ตลอดทั้ง 3 วัน ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 และกทม.ยังสนับสนุนเยาวชนที่มาความสามารถทางด้านดนตรี น้องๆนักเรียนนักศึกษารวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานเพลง เราจัดให้มีการแสดงดนตรีเยาวชนบนเวทีแห่งนี้ วันละ 2 วง ตลอดทั้ง 3 วัน และการฉายหนังกลางแปลง 3 เรื่องที่ไปไกลระดับโลก สุริโยไท (The Legend of Suriyothai), ฉลาดเกมส์โกง(Bad Genius) และ Blue Again ณ ลานหน้าหอศิลป์ฯอีกด้วย

สุดท้ายกรุงเทพมหานครมีความตั้งใจเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าภายในกรุงเทพฯ โดยออกบูธขายผลิตภัณฑ์ของดี 50 เขต ขอเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ในงาน “เทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 20-22 มกราคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น

กิจกรรมในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานครประจำปี 2566 จัดขึ้น 2 พื้นที่ คือ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 และ ลานหน้าหอศิลป์ฯ

กิจกรรมในห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 เสวนาภาพยนตร์และสารคดี 3 วัน 9 หัวข้อ

วันที่ 20 ม.ค. 2566
เวลา 11.00–12.00 น.​ สารคดีไทยไปตลาดโลก

ชนินทร์ ชมะโชติ นายกสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย (ผู้ผลิตสารคดีชุด Thailand Fantastic และ Thailand Grand Space ขายต่างประเทศ)
ยุพา เพ็ชรฤทธิ์ รัตนจันทร์ กรรมการสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย จากบริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่น (ผลิตสารคดี Duck Academy และ Lady Hornbill ขายต่างประเทศ)

เวลา 13.00-15.00น. ฮาว ทู ปั้น กรุงเทพ “เมืองแห่งหนัง”

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พรชัย ว่องศรีอุดมพร คณะกรรมการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนบทภาพยนตร์

เวลา 15.00-16.00น. เสวนาเรียนรู้การสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์แนวประวัติศาสตร์ไทยที่ไปไกลระดับโลก ”สุริโยไท”

ศาสตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ ผู้เขียนบทภาพยนตร์สุริโยไท

วันที่ 21 มกราคม 2566
เวลา 13.00-15.00 น. เสวนาภาพยนตร์ หัวข้อ ล่า ท้า ฝัน คนทำหนัง

ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ กรรมการสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับภาพยนตร์ “ร่างทรง”
มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล นักแสดง “Thai Cave Rescue”

เวลา 15.00-16.00 น. เสวนาภาพยนตร์ หัวข้อ โปรดักชั่นเฮ้าท์ไทยสู่ภาพยนตร์ฮอลลีวูด

Cod Satrusayang, Chairman Houghton Street Media (ที่ปรึกษาภาพยนตร์ฮอลลีวูดชื่อดังที่ถ่ายทำในประเทศไทย อาทิ The Hangover 2, Extraction, The Gray Man, Thai Cave Rescue)
ธกฤต สมบัตินันท์ JUSTดูIT.

เวลา 16.00-17.00 น. เสวนาภาพยนตร์สารคดีสั้น หัวข้อ เชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร 2030 (Connecting Bangkok 2030)

โดยผู้ชนะรางวัลประกวดภาพยนตร์สารคดีสั้นกรุงเทพมหานคร 2030 ร่วมเปิดใจถึงการผลิตสารคดีที่ได้รางวัล

วันที่ 22 มกราคม 2566

เวลา 13.00-15.00น.​ เสวนาภาพยนตร์ หัวข้อ คนหลังจอ ศาสตร์ vs ศิลป์

ลี ชาตะเมธีกุล นักลำดับภาพ
ณพวัฒน์ ลิขิตวงศ์ นักออกแบบเสียง

เวลา 15.00-16.00 น.​ การทำสารคดีคว้ารางวัลระดับโลก และสารคดี Hope Frozen

ไพลิน วีเด็ล ผู้กำกับสารคดีหญิงไทย คว้ารางวัลใหญ่ในงานระดับโลก Emmy Awards และสารคดี Hope Frozen สารคดีที่มาจากข่าวดังของครอบครัวคนไทยที่เชื่อมั่นเทคโนโลยีในอนาคตจะสามารถฟื้นชีวิตลูกชายจากโรคร้าย

16.00-17.00น.​ เสวนา หนังสุดแนว กำลังมาแรง ​ภาพยนตร์ Blue Again

ภาพยนตร์ที่สร้างจากแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นของผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องแรกในสมัยเรียนมหาวิทยาลัย จนได้รับคัดเลือกฉายสายประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน เกาหลีใต้
ฐา ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ
ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต โปรดิวเซอร์

กิจกรรมบริเวณลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
วันที่ 20-22 มกราคม 2566 ทุกวันในเวลา 10.00-20.00 น. กิจกรรมร้านค้าจำหน่ายสินค้าเด่นอาหารอร่อยจากชุมชน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร

วันที่ 20 มกราคม 2566
เวลา 16.00 น.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดงานเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานครประจำปี 2566 อย่างเป็นทางการและประกาศผลการตัดสินประกวดภาพยนตร์สารคดีสั้นหัวข้อ เชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร 2530 (Connecting Bangkok2030)

เวลา 17.00-19.00น. การแสดงวงดนตรีเยาวชน
วง Pimmip รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
วง Cotton Candy (โรงเรียนเตรียมอุดมดนตรีมหิดลดุริยางค์คศิลป์)

เวลา 19.00 น.ฉายหนังกลางแปลงเรื่อง สุริโยไท ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์แนวประวัติศาสตร์ไทยที่ไปไกลในระดับโลก

วันที่ 21 มกราคม 2566
เวลา 17.00-19.00 น. การแสดงวงดนตรีเยาวชน
วง Sri วงอินดี้หน้าใหม่ จากกลุ่มเยาวชนดนตรี
วง washrolled (โรงเรียนเตรียมอุดมดนตรีมหิดลดุริยางค์คศิลป์)

เวลา 19.00 น. ฉายหนังกลางแปลง เรื่อง ฉลาดเกมส์โกง ภาพยนตร์ไทยยุคใหม่ที่พัฒนาไปเผยแพร่ในหลายแพลตฟอร์มและนำไปรีเมคในหลายประเทศ

วันที่ 22 มกราคม 2566
เวลา 17.00-19.00 น. การแสดงวงดนตรีเยาวชน
วง​ DS.RU.BAND ​โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง​ (ฝ่ายมัธยม)​
วง Rainy Room โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก

เวลา 19.00 น. ฉายหนังกลางแปลงเรื่อง Blue Again ภาพยนตร์ไทยเรื่องล่าสุดที่ยังฉายในโรงภาพยนตร์ จากทีมผู้สร้างงานนักศึกษาสู่นักสร้างหนังมืออาชีพที่ได้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ประเทศเกาหลีใต้


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง