คัดลอก URL แล้ว

Continental นำเสนอนวัตกรรมยานยนต์สุดล้ำครบวงจรพร้อมเข้าสู่ยุคยานยนต์ไร้คนขับ – Car Sharing

คอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ แบงคอก ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ จัดงานแถลงข่าวการปรับกลยุทธ์ พร้อมทั้งนำเสนอนวัตกรรมยานยนต์ประจำปี 2565 นำโดย มร. ปีเตอร์ รางเคิล (Mr. Peter Rankl) ประธานฝ่ายบริหารภูมิภาคอาเซียน และดร. ณรงศักดิ์ รัตนสุวรรณชาติ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย และผู้อำนวยการฝ่ายขาย และการตลาดภูมิภาคอาเซียน ณ ห้องเดอะกลาสเฮาส์ โรงแรมปาร์คนายเลิศ

โครงสร้างใหม่ประกอบด้วย 3 ภาคส่วนที่ให้ประโยชน์ชัดเจน

คอนติเนนทอลปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่และปรับโครงสร้างให้มุ่งสู่ตลาดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โครงสร้างใหม่ของคอนติเนนทอลประกอบด้วยธุรกิจ 3 ภาคส่วนภายใต้หลังคาเดียวกัน ได้แก่

  1. กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีด้านยานยนต์
  2. กลุ่มธุรกิจยางรถยนต์
  3. กลุ่มธุรกิจคอนติเทค (กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางทางเทคนิคและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลาสติก)

ทำให้บริษัทฯ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่มีบริษัทอื่นในตลาดที่สามารถนำเสนอในเรื่องเดียวกันกับที่คอนติเนนทอลทำได้

มร. ปีเตอร์ รางเคิล (Mr. Peter Rankl) ประธานฝ่ายบริหารภูมิภาคอาเซียน บริษัท คอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ แบงคอก จำกัด

มร. ปีเตอร์ รางเคิล กล่าวว่า “คอนติเนนทอลมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชันทีจะเป็นนวัตกรรมสำหรับการช่วยเหลือการขับขี่ และการขับขี่แบบอัตโนมัติ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเราเกี่ยวกับโลกที่ปราศจากอุบัติเหตุจราจร นอกจากเรื่องความปลอดภัยแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เพียงแต่ทำให้การขับขี่ปราศจากความเครียดเท่านั้น แต่ยังมอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ใช้งานอีกด้วย ขณะนี้คอนติเนนทอลกำลังกำหนดมาตรฐานสำหรับการขับขี่แบบเชื่อมต่อสำหรับอนาคต ด้วยการใช้เทคโนโลยีการขับขี่แบบไร้รอยต่อและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพสูง”

พอร์ตโฟลิโอนวัตกรรมเทคโนโลยีในยานยนต์จากคอนติเนนทอล

มร. ปีเตอร์ รางเคิลได้นำเสนอกลุ่มธุรกิจของคอนติเนนทอลทั้ง 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ การขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Mobility) ความปลอดภัยและการขับเคลื่อน (Safety and Motion) ยานยนต์อัจฉริยะ (Smart Mobility) การเสริมสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) สถาปัตยกรรมและการเชื่อมต่อโครงข่าย (Architecture and Networking)

โดยในส่วนแรกได้นำเสนอเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติที่ใช้กล้อง เรดาห์และเซนเซอร์ต่าง ๆ เข้าช่วยเหลือผู้ขับขี่ เริ่มจากกล้องมัลติฟังก์ชันอัจฉริยะจับภาพด้านหน้าที่สามารถตรวจจับวัตถุกีดขวางได้เร็วขึ้น ตรวจจับเส้นแบ่งจราจร และควบคุมสถานการณ์การจราจรที่ซับซ้อนบนท้องถนน ตรวจจับสัญญาณไฟจราจร ป้ายจราจร และสามารถแจ้งเตือนเมื่อผู้ขับขี่เมื่อเกิดการขับขี่ที่ไม่มั่นคงได้ อีกทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ป้องกันการโจรกรรมทางไซเบอร์ได้อีกด้วย

กล้อง Surround View System ให้มุมมองรอบทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ในหลายสถานการณ์ ตั้งแต่การตรวจจับสิ่งกีดขวางล่วงหน้า การตรวจสอบจุดบอดของรถเมื่อเปลี่ยนเลนบนท้องถนน ไปจนถึงการจอดรถเทียบข้างทางโดยที่รถไม่ปีนทางเท้า

Surround Radars ช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้วยการตอบสนองที่มากขึ้น ทำให้เรดาร์รอบทิศทางที่ตรวจจับได้ถึง 360 องศา สามารถตรวจจับวัตถุได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น รถจักรยาน หรือรถจักรยานยนต์ขณะข้ามทางแยก แม้ว่าตำแหน่งของเซนเซอร์จะอยู่ด้านหลังกันชนทั้งซ้ายและขวาของตัวรถ แต่เรดาร์รอบทิศทางก็จะยังสามารถช่วยเหลือผู้ขับขี่และการขับขี่อัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับความปลอดภัยในอุตสาหกรรมยานยนต์ ASIL-B

ระบบเบรกอิเล็กทรอนิกส์ MK120

เทคโนโลยีระบบเบรกไม่ว่าจะเป็นในรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ต่างก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน MK120 เป็นระบบเบรกอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่จากคอนติเนนทอล ใช้สำหรับระบบควบคุมเสถียรภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนสมรรถนะไฮดรอลิกเพื่อรองรับการเบรกฉุกเฉินแบบอัตโนมัติ รองรับระบบเพิ่มแรงดันเบรกแบบสุญญากาศและแบบไฟฟ้า และยังมีความสามารถสร้างกำลังในการเบรก พร้อมลดแรงดันในเวลาเดียวกัน

นอกจากเทคโนโลยีความปลอดภัยในระบบเบรกแล้ว การควบคุมถุงลมนิรภัยนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ชุดควบคุมถุงลมนิรภัย (Airbag Control Units) ที่ทันสมัยจากคอนติเนนทอลสามารถควบคุมการทำงานของถุงลมนิรภัยได้มากถึง 48 ใบ และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ประสิทธิภาพของ ACU จะแตกต่างกันไปตามแต่ละส่วนของยานพาหนะและอุปกรณ์ ซึ่งมีฟังก์ชันพื้นฐานในการป้องกันการกระแทกจากด้านหน้าและด้านหลังด้วยถุงลมนิรภัย ตัวปรับสายคาดนิรภัย และยังมีฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การอัปเดตแบบ Over-The Air

Current Sensor Module (CSM)

บริษัทเทคโนโลยียังมีเซ็นเซอร์ 2 ตัวสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ได้แก่ Current Sensor Module (CSM) และระบบ Battery Impact Detection (BID) โซลูชันใหม่ทั้งสองมุ่งเน้นไปที่การปกป้องแบตเตอรี่และส่งข้อมูลไปยังส่วนอื่นๆ เพื่อให้ระบบควบคุมรักษาพารามิเตอร์ของแบตเตอรี่

Battery Impact Detection (BID)

ภายในปี 2565 บริษัทฯ จะเริ่มผลิตโมดูลเซ็นเซอร์กระแสไฟแรงสูง (CSM) ใหม่ทั้งหมด การออกแบบเซ็นเซอร์โมดูลาร์ขนาดกะทัดรัดนี้วัดกระแสและตรวจจับอุณหภูมิพร้อมกัน ค่าทั้งสองมีความเกี่ยวข้องสูงโดยเป็นอินพุตสำหรับการจัดการแบตเตอรี่ ส่วนประกอบที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของการป้องกันแบตเตอรี่จะถูกนำออกสู่ตลาดโดยคอนติเนนทอลคือ โซลูชันที่เรียกว่า Battery Impact Detection (BID) จะตรวจจับแรงกระแทกจากภายนอกที่ส่งผลต่อความเสียหายของแบตเตอร์รี่ เป็นทางเลือกที่มีน้ำหนักเบาลง ตอนสนองเร็วขึ้น และปกป้องแบตเตอร์รี่ได้ในขณะเดียวกัน

ABS รุ่น MK 100 MAB สำหรับมอเตอร์ไซค์

เมื่อพูดถึงอุบัติเหตุในรถจักรยานยนต์ โอกาสการเกิดอุบัติเหตุสามารถลดลงได้มาถึง 10% เมื่อรถจักรยานยนต์ติดตั้งระบบ ABS ในสถานการณ์ที่ผู้ขับเบรกรถแบบกระทันกัน ระบบเบรกแบบธรรมดาจะไม่มีคุณสมบัติกระจายระบบแรงระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง ทำให้ล้อล็อคและผู้ขับขี่สามารถสูญเสียการควบคุมรถได้ หากใช้ระบบเบรก ABS ระบบจะเป็นตัวช่วยควบคุมแรงดันในการเบรคให้ลงลด-เพิ่มขึ้นอย่างเป็นจังหวะ ป้องกันรถสะบัด ล้อล็อค ลื่นไถล และพลิกคว่ำ ทำให้ผู้ขับขี่สามารถทรงตัวและบังคับทิศรถทางได้

ในปัจจุบันคอนติเนนทอลมี ABS รุ่น MK 100 MAB โดยติดตั้ง 2 ล้อหน้า-หลัง และมีฟังก์ชันอื่น ๆ ได้แก่ ฟังก์ชันป้องกันล้อหมุนฟรี (Traction Control System) ฟังก์ชันเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเบรกขณะเข้าโค้ง (Optimized Curve Braking) และฟังก์ชันตรวจจับการยกตัวขึ้นของล้อหลังโดยเฉพาะเพื่อการชะลอความเร็วที่เหมาะสมอย่างมีเสถียรภาพ (Rear Wheel Lift-Off Protection, RLP)

ดร. ณรงศักดิ์ รัตนสุวรรณชาติ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย และผู้อำนวยการฝ่ายขาย และการตลาดภูมิภาคอาเซียน บริษัท คอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ แบงคอก จำกัด

ดร. ณรงศักดิ์ รัตนสุวรรณชาติ กล่าวว่า “ในปัจจุบันลูกค้าเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในตลาดเทคโนโลยี เห็นได้จากความต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใช้สมาร์ทโฟนในการเข้าถึงฟังค์ชันต่าง ๆ ของรถ ระบบเทเลเมติกส์ รถยนต์นำร่องที่เป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ และหน้าจอแสดงผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนนได้รับการปรับปรุงเพื่อรองรับการขับขี่แบบอัตโนมัติ เช่น แนวทางการควบคุมเบรกในมอเตอร์ไซด์ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปสำหรับการตรวจสอบผู้ขับขี่”

ระบบเตือนการชนจากคอนติเนนทอล จะทำหน้าที่เป็น Digital Guardian Angel ซึ่งจะให้การปกป้องมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในอนาคต โดยระบบจะใช้ข้อมูลจากวัตถุการจราจรในพื้นที่สี่แยกที่ตรวจพบ ข้อมูลไฟเบรก และแผนที่ดิจิทัลที่แม่นยำ คำเตือนเกี่ยวกับการชนที่จะเกิดขึ้นจะถูกส่งในแบบทันทีผ่านเครือข่าย Low Latency ของบริษัท Deutsche Telekom ไปยังผู้ใช้ถนนที่มีแอปพลิเคชัน T-Systems ที่สอดคล้องกันบนสมาร์ทโฟนของตน นี่คือวิธีที่เทคโนโลยี Digital Guardian Angel ปกป้องผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เช่น คนเดินถนน ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ หรือนักปั่นจักรยาน รวมถึงผู้ขับขี่รถยนต์จากอุบัติเหตุ

มร. ปีเตอร์ รางเคิล กล่าว “สำหรับคอนติเนนทอล ‘Vision Zero’ หรือ โครงการลดอุบัติเหตุทางถนนให้เป็นศูนย์ มีความสำคัญสูงสุดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ Digital Guardian Angel ที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ร่วมกับระบบความช่วยเหลืออื่น ๆ ทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น”

คอนติเนนทอลได้พัฒนาโซลูชันแบบบูรณาการสำหรับเทคโนโลยีเซนเซอร์ภายใน (Cabin Sensing) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยในอนาคต และเพิ่มความสะดวกสบายภายในรถ โซลูชั่นเซนเซอร์ภายในรถนี้บริษัทเทคโนโลยีได้รวบรวมเอาความเชี่ยวชาญหลายปีในทุกด้านของกล้องภายในรถ ที่ใช้ในการโต้ตอบระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร กับความรู้ความชำนาในเรื่องเทคโนโลยีเซนเซอร์เรดาร์

ด้วยเหตุนี้ คอนติเนนทอลจึงก้าวไปไกลกว่าการใช้เซนเซอร์ผู้ขับขี่เพียงอย่างเดียวด้วยการใช้เซนเซอร์ตรวจจับสิ่งมีชีวิตในรถได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เด็ก หรือสัตว์เลี้ยง นี่เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย และนำเสนอโครงสร้างเพิ่มเติมสำหรับยานยนต์ในอนาคต เช่น การขับขี่อัตโนมัติ เทคโนโลยีนี้สอดคล้องกับกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในอนาคตของคณะกรรมาธิการยุโรปและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรทดสอบการชน ของรถยนต์แห่งทวีปยุโรป European New Car Assessment Program (Euro NCAP) ในส่วนของ ASEAN NCAP มีโซลูชันนี้ในแผนงานของปี 2564-2568 แล้ว

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความอัจฉริยะในระบบเครือข่ายและการเชื่อมต่อข้อมูลต่าง ๆ คอนติเนนทอลก็ได้มีการนำเสนอ CoSmA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างยานพาหนะเข้ากับสมาร์ทโฟน ทำให้สามารถสื่อสาร สั่งการ แชร์กุญแจดิจิทัล สตาร์ทและดับเครื่องยนต์ รวมถึงเฝ้าดูรถได้จากสมาร์ทโฟน

และสิ่งขาดไม่ได้เลยในนวัตกรรมยานต์ที่ช่วยเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้นคือ ระบบเทเลเมติกส์ (Telematics) ที่เป็นการเชื่อมต่อยานพาหนะทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ เข้ากับคลื่นสัญญาณ 5G ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการนำยานพาหนะเข้าสู่โลกแห่งการขับเคลื่อนอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังคลายความกังวลในด้านความปลอดภัยทั้งกับตัวรถและผู้ใช้รถ รวมไปถึงการเข้าถึงความบันเทิงและการอัปเดตแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อีกด้วย

เทคโนโลยีที่ให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วจาก Quantum Inventions

Quantum Inventions คือ บริษัทในเครือของคอนติเนนทอล ที่ส่งมอบข้อมูลการเดินทางอัจฉริยะให้กับผู้สัญจร องค์กร และภาครัฐ ตอนนี้เปิดให้บริการแพลตฟอร์ม Share Care ในประเทศอินโดนิเซีย และแพลตฟอร์ม Limousine Dispatch ในประเทศสิงคโปร์

เนื่องจากการไลฟ์สไตล์ของคนเมืองเปลี่ยนไปจึงเกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดย Share Car ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ที่จะมอบประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้เช่ารถ Share Car เป็นแอปพลิเคชันเช่ารถเพียงแอปฯ เดียวที่ช่วยให้ผู้เช่ารถสามารถเรียกใช้รถได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถใช้รถได้โดยไม่ต้องใช้กุญแจ เพียงติดตั้งแอปฯ Share Car บนสมาร์ทโฟนก็สามารถเช่ารถและใช้ฟังก์ชันกุญแจเพื่อเข้าถึงรถได้ แพลตฟอร์มนี้เริ่มใช้งานจริงเมื่อปี 2563 ที่เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซีย

ส่วน Limousine Dispatch ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี 2564 แพลตฟอร์มนี้ใช้สำหรับจัดส่งรถลีมูซีนแบบครบวงจรสำหรับผู้ขับขี่ภายในและภายนอกองค์กรโดยผู้ใช้งานสามารถเข้าไปจองผ่านเว็บพอร์ทัล Dispatcher โดยระบบมีแอปพลิเคชันรองรับพร้อมระบบนำทางในตัวสำหรับคนขับเพื่อรับและจัดตารางการรับงาน นอกจากนี้ยังใช้ Fleet telematics ในการการติดตามตำแหน่งยานพาหนะอีกด้วย


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง