การแก้ไขปัญหาสลากแพงจึงทำได้ยาก เราต้องเข้าใจโครงสร้างการจัดจำหน่ายสลากแต่ละงวดก่อน ใน 1 งวดจำนวน 74 ล้านฉบับ จะถูกแบ่งไป 2 ลักษณะ คือ สลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 52 ล้านฉบับ สลากการกุศล 22 ล้านฉบับ ในตารางถ้ามาลงลึกในส่วนของสลากกินแบ่งรัฐบาลจะกระจายไปยังตัวแทนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมแล้วกว่า 3 หมื่นราย จากนั้นจะส่งต่อให้สมาชิก ก่อนจะถึงมือผู้บริโภค ส่วนสลากการกุศลจะกระจายไปยังองค์กรมูลนิธิและสมาคม รวมกว่า 3,500 ราย จากนั้นจะส่งต่อยังสมาชิก และผู้บริโภค ทั้งนี้ปัญหาสำคัญที่ทำให้สลากมีราคาแพง เพราะบุคคลที่ได้โควต้าไม่ได้จำหน่ายเอง แต่มีการจำหน่ายต่อไปให้พ่อค้าคนกลาง กว่าจะถึงกลุ่มผู้จำหน่ายรายย่อย และผู้บริโภค ราคาก็พุ่งไปถึงเฉลี่ย 102 ถึง 105 บาทแล้ว จากราคาหน้ากองสลากที่ประมาณ 72 ถึง 74 บาท ทีนี้ก็เกิดคำถามว่าทำไมสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่จัดจำหน่ายเอง คำตอบก็คือเนื่องจากพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 2517 มีการกำหนดสัดส่วนการจัดสรรเงินรายได้จากการจำหน่ายสลาก 60 เปอร์เซ็นต์ จ่ายเป็นเงินรางวัล ไม่น้อยกว่า 28 เปอร์เซ็นต์ ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และไม่เกิน 12 เปอร์เซ็นต์ เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงานสลากฯ ซึ่งรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายสลากด้วย หากสำนักงานสลากฯ เปิดขายสลากฯ เอง กรณีเลขไม่สวย ขายสลากไม่หมด อาจเกิดผลขาดทุน จนเสี่ยงทำให้สำนักงานสลากฯ ไม่สามารถจัดสรรเงินรายได้จากการจำหน่ายสลาก ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด
เห็นได้ชัดเลยนะคะว่าการปรับโครงสร้างสลากในครั้งนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของวงการของกองสลากกินแบ่งรัฐบาลเลยที เดียวค่ะ และแน่นอนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมเกิดผลกระทบกับผู้ที่มีรายได้หลัก ยึดอาชีพการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นหลัก
.
.
นายอำนวย กลิ่นอยู่ (ประธานสมาพันธ์คนพิการผู้ค้าสลากแห่งประเทศไทย)
.
.
โครงสร้างการจัดจำหน่ายสลากแต่ละงวด (74 ล้านฉบับ)
.
.
ตัวแทนที่ได้รับโควต้าสลากสูงสุด 10 อันดับแรก
.
.
ตัวแทนที่ได้รับโควต้าสลากสูงสุด 10 อันดับแรก
.
.
พ.ร.บ. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 กำหนดจัดสรรเงินรายได้จาการจำหน่ายสลาก