คัดลอก URL แล้ว

ไก่-วรายุฑ มิลินทจินดา

ไก่-วรายุฑ มิลินทจินดา
ชื่อเล่น : ไก่

          วรายุฑ เกิดที่กรุงเทพ เป็นบุตรของ นายวิวัฒน์ มิลินทจินดา และ นางดารา มิลินทจินดา จบการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนศุภมาศพิทยาคม ระดับประถมศึกษาปีที่ 5-7 โรงเรียนวัดตองปุ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนมัธยมวัดบวรนิเวศ และได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โรงเรียนช่างศิลป์ กรุงเทพมหานคร

          หลังจากเรียนจบเข้าไปเป็นพนักงานประจำช่างศิลป์ โรงพิมพ์ยานนาวา ทำหน้าที่จัดทำ และออกแบบการ์ด นามบัตร แผ่นปลิว ต่าง ๆ จากนั้นอีก 2 ปี ทำหน้าที่รับผิดชอบในฝ่ายช่างศิลป์และติดสติ๊กเกอร์ฉลากโรงงานน้ำปลา ต่อมาในปีพ.ศ. 2519 ทำงานบริษัทสีเคนีเท็กซ์ จำกัด ทำหน้าที่หลายอย่างทั้งเป็นเซลล์และจัดหน้าร้าน และยังรับผิดชอบออกแบบถุงยางอนามัยให้กับบริษัทคิงส์เท็กซ์ จำกัด เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีผู้บริหารเป็นคนเดียวกัน ต่อมาในปี 2521 ทำงานให้กับบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติกส์ จำกัด ทำหน้าที่เป็นฝ่ายศิลปกรรมด้านการออกแบบชุดชั้นในผู้หญิง จัดหน้าร้าน จัดตู้โชว์และทำแพ็คเกจเครื่องสำอางค์เพี๊ยซ

          จากนั้นในปี พ.ศ. 2524 ทำงานที่โรงแรมมณเฑียร ด้านกราฟิกดีไซน์ ออกแบบ ชื่อห้องอาหาร เมนู ป้ายเวทีในงาน จัดเลี้ยงต่าง ๆ หลังจากนั้นได้รับการติดต่อมาเป็นผู้ช่วยของ คุณภัทราวดี (ศรีไตรรัตน์) มีชูธน ซึ่งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ และละครเวที โดยคุณพ-วงเดือน (อินทรวุธ) ยนตรรักษ์ เป็นผู้ติดต่อ ตรงนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ก้าวเข้าสู่ละครโทรทัศน์ และตัดสินใจลาออกจากงาน ในปี 2525 โดยได้ทำงานด้านการแสดงการแต่งหน้า การออกแบบเสื้อผ้า การจัดฉาก ช่วยกำกับการแสดงตลอดจนด้านธุรกิจต่าง ๆ ในการจัดสร้างละคร

          จากนั้นได้ร่วมจัดละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ อย่าง ละครโทรทัศน์เรื่องความรัก , ภาพยนตร์เรื่องรักริษยา , ละครโทรทัศน์ เรื่อง เซียวฮื่อยี้ เทพบุตรผู้ไร้ทวน โดยทำหน้าที่ แต่งหน้าตัวละคร จัดเสื้อผ้า และจัดฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก และจากความสำเร็จกับการเป็นผู้จัดละคร เรื่อง ทะเลเลือด จึงได้ก่อตั้งบริษัท ไอแอม โปรดักชั่น จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท ฮู แอนด์ ฮู จำกัด)ผลิตละครโทรทัศน์อีกมากมายจนถึงปัจจุบัน[1] นอกจากนี้ วรายุฑยังก่อตั้งบริษัท รีมายน์ จำกัด ผลิตรายการโทรทัศน์ป้อนให้กับไทยทีวีสีช่อง 3 รายการที่มีชื่อเสียง เช่น ดาวล้านดวง อลหม่านจานเด็ด เป็นต้น

          หลังจากจบปีที่ 3 ที่โรงเรียนช่างศิลป์ คุณวรายุทฑ มลินทจินดา ได้เริ่มชีวิติการ ทำงานดังนี้

  • พ.ศ. 2516 เป็นพนักงานประจำช่างศิลป์ โรงพิมพ์ยานนาวา สาธุประดิษฐ์ มีหน้าที่จัดทำ และออกแบบการ์ด นามบัตร แผ่นปลิว และออกแบบฉลาก ฯลฯ
  • พ.ศ. 2518 ทำหน้าที่รับผิดชอบในฝ่ายช่างศิลป์และติดสติ๊กเกอร์ฉลากโรงงานน้ำปลา
  • พ.ศ. 2519 ทำหน้าที่รับผิดชอบทุกอย่างทั้งเป็นเซลล์และจัดหน้าร้านของบริษัทสีเคนีเท็กซ์ จำกัด นอกจากนี้ยังรับผิดชอบออกแบบถุงยางอนามัยให้กับบริษัทคิงส์เท็กซ์ จำกัด เนื่องด้วยจากมีผู้บริหารเป็นคนเดียวกัน
  • พ.ศ.2521 ทำหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายศิลปกรรมด้านการออกแบบชุดชั้นในผู้หญิง จัดหน้าร้าน จัดตู้โชว์และทำแพ็คเกจเครื่องสำอางค์เพี๊ยซให้กับบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติกส์ จำกัด
  • พ.ศ.2524 ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านกราฟฟิกดีไซน์ ออกแบบ ชื่อห้องอาหาร เมนู ป้ายเวทีในงาน จัดเลี้ยงต่าง ๆ ให้กับโรงแรมมณเฑียร ต่อมาได้รับการติดต่อจากคุณ พ-วงเดือน (อินทรวุธ) ยนตรรักษ์ ให้มาทำงานเป็น ผู้ช่วยของ คุณภัทราวดี (ศรีไตรรัตน์) มีชูธน ทำให้คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ตัดสินใจลาออกจากการทำงานที่โรงแรมมณเฑียรและเริ่มเข้าสู่วงการละครโทรทัศน์ เป็นต้นมา
  •  

    งานเผยแพร่ความรู้ด้านการแสดง

              คุณวรายุฑ มิลินทจินดา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านกำกับการแสดง ด้านเครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า และการกำกับฉาก ดังนั้นงานของ คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ย่อมเป็นงานที่ต่อเนื่องและมีเวลาว่างที่ไม่แน่นอน แม้กระนั้นเมื่อคุณวรายุฑได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับนักศึกษา เกี่ยวกับงานที่ตนถนัด คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ก็เห็นความสำคัญทางด้านการศึกษา แม้ว่าจะไม่มีเวลาแต่ก็ยินดีรับเชิญไปบรรยายให้กับสถานศึกษาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา และสถาบันราชภัฎธนบุรี นอกจากจะให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีแล้วทางด้าน การปฏิบัติ คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ยังได้สาธิตและปฏิบัติให้ดูอย่างสมจริงพร้อม ทั้งพาไปศึกษา เทคนิคต่าง ๆ ในโรงถ่ายละครอีกด้วย

     

    ผลงานการจัดละครโทรทัศน์และภาพยนตร์

              พ.ศ. 2525 คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ได้ตัดสินใจลาออกจากงานที่โรงแรมมณเฑียร มาทำงานเป็นผู้ช่วยของ คุณภัทราวดี (ศรีไตรรัตน์) มีชูธน ซึ่งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ และละครเวทีที่มีความสามารถและมีชื่อเสียงมากในขณะนั้น และทำให้ได้มีโอกาส แสดงความสามารถทั้งในด้านการแสดงการแต่งหน้า การออกแบบเสื้อผ้า การจัดฉาก ช่วยกำกับการแสดงตลอดจนด้านธุรกิจต่าง ๆ ในการจัดสร้างละครอีกด้วย และ จากการที่คุณวรายุฑ มิลินทจินดา เป็นผู้มีใจรัก มีความมุ่งมั่นและรับผิดชอบ ในหน้าที่อีกทั้งยังเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้าศิลปะทุกแขนง จึงทำให้ คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ได้ร่วมจัดละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ โดยทำหน้าที่ แต่งหน้าตัวละคร จัดเสื้อผ้า และจัดฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้

    1. ละครโทรทัศน์เรื่องความรัก ทำหน้าที่จัดฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากจัดเสื้อผ้า และแต่งกายตัวละคร

    2. ภาพยนตร์เรื่องรักริษยา ทำหน้าที่จัดเสื้อผ้าและแต่งหน้าให้ผู้แสดงนำคือ คุณธิติมา สังขพิทักษ์ ซึ่งเป็นผู้แสดงนำครั้งแรกและประสบความสำเร็จได้รับรางวัล ตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย คุณภัทราวดี (ศรีไตรรัตน์) มีชูธน

    3. ละครโทรทัศน์ เรื่อง เซียวฮื่อยี้ เทพบุตรผู้ไร้ทวน ทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ทำ เอฟเฟค และอาวุธลับ เนื่องจากเป็นละครประเภทกำลังภายใน ละครเรื่องนี้นำแสดง โดย คุณปัญญา นิรันดร์กุล และเมื่อแพร่ภาพทางโทรทัศน์ก็ได้รับความนิยมจาก ผู้ชมเป็นอย่างดี

    ผู้จัดละคร

  • พ.ศ. 2521 ประชาชนชาวแฟลต
  • พ.ศ. 2522 มหึมาจอมพลัง
  • พ.ศ. 2523 รางวัลที่ได้รับ ฉากดีเด่น (เมขลา) จาก “คนเริงเมือง” สมรักษ์ ณ รงค์วิชัย ผู้กำกับรายการดีเด่น (เมขลา)
  • พ.ศ. 2523 ดงมนุษย์
  • พ.ศ. 2523 โบตั๋น
  • พ.ศ. 2523 ได้รับ รางวัล เมขลา จาก “เขาชื่อกานต์” โดยคุณสมจินต์ ธรรมทัต เป็นดาราสนับสนุนชายดีเด่น
  • พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัล เมขลา จาก “ไฟอารมณ์” โดยคุณชลิต เฟื่องอารมณ์ เป็นนักแสดงชายดีเด่น
  • พ.ศ. 2524 ได้รับ รางวัล เมขลา โดยคุณบู๊ วิบูลย์นันท์ เป็นผู้แสดงตัวประกอบชายได้รับรางวัล เมขลา โดยคุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ เป็นผู้กับการแสดงดีเด่นจาก “นางทาส”
  • พ.ศ. 2524 โอ้มาดา
  • พ.ศ. 2525 หลิวลู่ลม
  • พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองมหาชน โดยคุณวรายุฑ มิลินทจินดา เป็นดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยม จาก “สงครามพิศวาส”
  • พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัล เมขลา โดยอำนวย ศิริจันทร์ ดาราสนับสนุนชายได้รับรางวัลรางวัลเมขลาผู้กำกับดีเด่น โดยคุณถาวร สุวรรณ จาก “ฝันรัก”
  • พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัล เมขลา โดยคุณนิรุตต์ ศิริจรรยา ดารานำดีเด่นชายจาก “ปีกทอง” ได้รับรางวัลเมขลาบทโทรทัศน์ดีเด่น โดยคุณนลินี สีตะสุวรรณ
  • พ.ศ. 2525 ถนนไปสู่ดวงดาว
  • พ.ศ. 2529 ได้รับรางวัล เมขลา ดาราสนับสนุนหญิง อรสา พรหมประทานจาก “อีแตน”
  • พ.ศ. 2526 ได้รับรางวัล เมขลาดาราดีเด่นชาย โดยคุณนพพล โกมารชุน ได้รับรางวัลเมขลาผู้กำกับดีเด่น โดยคุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ จาก “น้ำตาลไหม้”
  • พ.ศ. 2527 มงกุฏฟาง
  • พ.ศ. 2527 เพลงพรหม
  • พ.ศ. 2527 บาปปรารถนา
  • พ.ศ. 2528 บ้านขนนก
  • พ.ศ. 2528 บันไดเมฆ
  • พ.ศ. 2530 เจ้าชายดำรงค์ฤทธิ์
  • พ.ศ. 2530 ละครคน
  • พ.ศ. 2531 ทายาท
  • พ.ศ. 2532 เทพสองหน้า
  • พ.ศ. 2534 ขุนศึกคู่บัลลังก์
  • พ.ศ. 2529 ทะเลเลือด
  • พ.ศ. 2529 นางเอก
  • พ.ศ. 2530 เล่านินทานาย
  • พ.ศ. 2530 ได้รับรางวัลเมขลานักแสดงดีเด่นชาย โดยคุณฉัตรชัย เปล่าพานิช
  • ได้รับรางวัล เมขลาและโทรทัศน์ทองคำดาราสนับสนุนดีเด่นหญิง โดยคุณปาหนัน ณ พัทลุง
  • ได้รับรางวัลเมขลาฉากดีเด่นจาก “ปริศนา”
  • พ.ศ. 2531 นายจ๋าเลขาขอโทษ
  • พ.ศ. 2531 ไฟรัก
  • พ.ศ. 2531 รักประกาศิต
  • พ.ศ. 2531 เจ้าสาวของอานนท์
  • พ.ศ. 2531 รัตนาวดี
  • พ.ศ. 2532 ผู้พิชิตมัจจุราช
  • พ.ศ. 2532 แก้วตาพี่
  • พ.ศ. 2532 คนใช้เจ้าขา
  • พ.ศ. 2533 อาถรรพ์
  • พ.ศ. 2533 ใครกำหนด
  • พ.ศ. 2533 เลือดสุพรรณ
  • พ.ศ. 2533 วนาลี
  • พ.ศ. 2534 เงาะป่า
  • พ.ศ. 2534 สาวเครือฟ้า
  • พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลเมขลา ดาราดีเด่นหญิง โดยคุณจินตหรา สุขพัฒน์
  • รางวัลเมขลาผู้กำกับดีเด่น โดยคุณสุประวัติ ปัทมสูต
  • รางวัลเมขลาบทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม โดยคุณนลินี สีตะสุวรรณ
  • บทละครดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ)
  • ฉากดีเด่น ศิลปกรรมช่อง 3 (โทรทัศน์ทองคำ)
  • ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม (โทรทัศน์ทองคำ)
  • ดนตรีประกอบดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ) สุดจิตต์ ดุริยะประณีต
  • ดารานำแสดงหญิงดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ) จินตหรา สุขพัฒน์
  • ผู้กำกับการแสดงดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ) สุประวัติ ปัทมสูต จาก”สี่แผ่นดิน”
  • พ.ศ. 2534 รางวัลที่ได้รับ เครื่องแต่งกายดีเด่น(เมขลา) จาก “วนิดา”
  • พ.ศ. 2535 คลื่นชัดใจ
  • พ.ศ. 2535 รางวัลที่ได้รับจินตนาการดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ)
  • สนับสนุนชาย (โทรทัศน์ทองคำ) วรุฒ วรธรรม นลินี สีตะสุวรรณ (โทรทัศน์ทองคำ) อลงกรณ์ (ถ.พหลโยธิน ตรงข้ามสวนจตุจักร ออกแบบเครื่องแต่งกายชาย พรศรี เดบูตอง (โซโก้ อัมรินทร์พลาซ่า) นาการ่า (ลาดพร้าว 99) ออกแบบเครื่องแต่งกายหญิง จาก “ในฝัน”

  • พ.ศ. 2537 ปราสาทมืด
  • พ.ศ. 2537 สายรักสายสวาท
  • พ.ศ. 2537 เหมือนคนละฟากฟ้า
  • พ.ศ. 2537 นิมิตแห่งรัก
  • พ.ศ. 2536 คุณหญิงจอมแก่น
  • พ.ศ. 2536 สิ้นสวาท
  • พ.ศ. 236 รางวัลที่ได้รับส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้าน (โทรทัศน์ทองคำ) จาก “ฉุยฉาย”
  • พ.ศ. 2537 ตุ๊กตาเริงระบำ
  • พ.ศ. 2538 ไฟต่างสี
  • พ.ศ. 2538 ร่มฉัตร
  • พ.ศ. 2540 ทรายสีเพลิง
  • พ.ศ. 2540 ตามหัวใจไปสุดหล้า
  • พ.ศ. 2540 สองนรี
  • พ.ศ. 2540 เรือนยุรา
  • พ.ศ. 2541 ไฟลวง
  • พ.ศ. 2540 รุ่งสามสาย
  • พ.ศ. 2541 จากฝันสู่นิรันดร
  • พ.ศ. 2540 เชลย
  • พ.ศ. 2541 ธรณีนี่นี้ใครครอง
  • พ.ศ. 2541 กัลปังหา
  • พ.ศ. 2541 กะล่อนคูณสอง
  • พ.ศ. 2542 สายน้อยประแป้ง
  • พ.ศ. 2542 เสน่ห์นางงิ้ว
  • พ.ศ. 2542 เขยลิเก
  • พ.ศ. 2542 เจ้าสาวปริศนา
  • พ.ศ. 2543 บ้านทรายทอง
  • พ.ศ. 2543 มณีหยาดฟ้า
  • พ.ศ. 2543 สายน้อยค่าเฟ่
  • พ.ศ. 2543 ดอกแก้วการะบุหนิง
  • พ.ศ. 2543 ขอหยุดหัวใจไว้เพียงเธอ
  • พ.ศ. 2545 นางร้าย
  • พ.ศ. 2545 สำเภาทอง
  • พ.ศ. 2545 กิเลสมาร
  • พ.ศ. 2545 วิวาห์สลับรัก
  • พ.ศ. 2545 รัตตมณี 220
  •  

    ละคร

  • ละครเรื่อง ดาวจรัสฟ้า
  •  

    ภาพยนตร์

  • ภาพยนตร์เรื่อง ผู้ชายป้ายเหลือง (2530)
  • ภาพยนตร์เรื่อง บ้านทรายทอง พจมานสว่างวงศ์ (2530) …. พจนา
  •  

    ผู้ผลิตรายการ

  • รายการ ดาวล้านดวง ช่อง3
  • รายการ อลหม่านจานเด็ด ช่อง3